วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ



Information Technology Infrastructure

ความหมายของโครงสร้างพื้นฐานทางไอที (IT Infrastructure)


สิ่งอํานวยความสะดวกทางกายภาพต่างๆ รวมถึงการให้บริการ และการจัดการที่นํามาสนับสนุนการปฏิบัติงานได้ทั่วองค์กร

          การลงทุนในการวางรากฐาน งานบริการให้แก่ลูกค้า การทํางานร่วมกับผู้ขายปัจจัยการผลิต และการนํามาใช้เพื่อจัดการกระบวนการทางธุรกิจ ภายในองค์กร





ปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดวิวัฒนาการของโครงสร้างพื้นฐานทางด้าน IT (Technology drivers of infrastructure evolution)

การพัฒนาความสามารถในการประมวลผลของไมโครโปรเซสเซอร์
- กฎของ Moore พลังของไมโครโปรเซสเซอร์จะเพิ่มขึ้นสองเท่าในทุกๆ 18 เดือน, พลังอํานาจในการประมวลผลจะเพิ่มเป็นสองเท่าในทุกๆ 18 เดือน, ราคา ของการประมวลผลจะลดลงครึ่งหนึ่งในทุกๆ 18 เดือน
- เทคโนโลยีนาโน (Nanotechnology) ทําให้สามารถผลิตชิพคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่มีขนาดเล็กลงกว่าเดิมมาก
การจัดเก็บข้อมูลดิจิตอลเป็นจํานวนมาก
- ปริมาณข้อมูลดิจิตอลมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทําให้มีการพัฒนาขีดความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลของอุปกรณ์
ค่าใช้จ่ายในการสื่อสารข้อมูลลดลง และการเติบโตอย่างก้าวหน้าของระบบ อินเตอร์เน็ต
          - ผู้ใช้ที่สามารถใช้งานระบบอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น จํานวนเว็ปไซต์ต่างๆก็เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการสื่อสารข้อมูลลดลง
การกําหนดมาตรฐานของเทคโนโลยี 
          - ข้อตกลงระหว่าบริษัทผู้ผลิต และผู้บริโภคทั่วไป ในการยอมรับมาตรฐานของ เทคโนโลยีต่างๆ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าลดลง เนื่องจากบริษัทสามารถ ผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานเดียวกัน สามารถทํางานร่วมกัน และสื่อสารกันผ่านระบบ เครือข่ายได้

ส่วนประกอบของ IT Infrastructure

ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ (Computer Hardware Platform)
ซอฟต์แวร์ระบบ (Operating System Platforms)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ระดับองค์กร (Enterprise Software Applications)
การจัดการข้อมูลและการเก็บข้อมูล (Data management and storage)
การสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่าย (Networking/Telecommunications Platforms)อินเตอร์เน็ต (Internet Platforms)
ที่ปรึกษาทางด้านระบบ (Consulting and system Integration services)

ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ (Computer Hardware Platform)

        อุปกรณ์ทางกายภาพของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ เกี่ยวข้อง ที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้
• Client machines : Desktops and mobile computing devices (Notebooks or laptops)
• Server machines : Mainframes, Blade servers (Ultrathin computers consisting of a circuit board with processors, memory and network connections that are stored in racks)
• Major suppliers
        - Microprocessors – IBM, Intel, and AMD
        - Hardware – HP, IBM, Dell, and Sun

ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System Platforms)

        โปรแกรมที่ทําหน้าที่ควบคุมการทํางานระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสาน หรือ Interface ระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์
• Client OS : Microsoft Windows, Mac OS, Google's Chrome
• Server OS : Microsoft Windows, UNIX and Linux
• Major suppliers
        -Microsoft Windows : Microsoft
        - Mac OS : Apple
        - UNIX: IBM, HP, and Sun


ซอฟต์แวร์ประยุกต์ระดับองค์กร (Enterprise Software Applications)

        ซอฟต์แวร์ที่ใช้เพื่อบูรณาการกระบวนการทางธุรกิจให้เชื่อมโยงถึงกันทั้งหมด
• Major providers:
        - SAP and Oracle
        - Microsoft is trying to capture the low end of this market

การจัดการข้อมูลและอุปกรณ์เก็บข้อมูล (Data management and storage)

        ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการข้อมูล และอุปกรณ์ในการเก็บข้อมูล เป็น โครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญ ที่จะทําให้องค์กรสามารถเข้าถึงและใช้ข้อมูลได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
• Data management software providers:
        - Major suppliers: Oracle and IBM
        - Microsoft (SQL Server) and Sybase tend to serve smaller firms.
        - Open source Linux MySQL
• Data storage hardware
        - EMC, Seagate, Maxtor, and Western Digital

การสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่าย (Networking/Telecommunications Platforms)

        เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่าย ทําให้ธุรกิจสามารถ ติดต่อสื่อสารได้ทั่วโลก ทําให้การทํางานร่วมกันในองค์กร และการจัดการ ทรัพยากรต่างๆเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
• Network operating systems
        - Windows Server, Novell, Linux, and Unix
• Networking hardware providers
        - Cisco, Lucent, Nortel, and Juniper Networks
• Telecommunications services market
        - MCI. AT&T, and Sprint (Line services for both phone and Internet in US)
        - True TOT 3BB (Line Services for both phone and Internet in Thailand)

อินเตอร์เน็ต (Internet Platforms)

        Internet Platforms เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานประเภท Network รวมทั้ง Hardware และ Software ซึ่งมีบทบาทสําคัญในการเชื่อมโยง องค์กรกับโลกภายนอก
• Internet hardware server providers
        - Dell, HP, and IBM
• Web software tools providers
        - Microsoft's Expression Web and .Net families of tools
        - Adobe software (Dreamweaver and Flash)
        - WebSphere from IBM to manage a Web site
        - Java from Sun for interactive applications

ที่ปรึกษาทางด้านระบบ (Consulting and system Integration Service

        การวางโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ปัจจุบัน บริษัทส่วนใหญ่ แม้กระทั่งบริษัทใหญ่ๆ จําเป็นต้องมีที่ปรึกษาทางด้านระบบ เนื่องจากบุคลากร จะต้องมี ความสามารถ ความรู้ และประสบการณ์ในการวางระบบ รวมทั้งบํารุงรักษา ระบบ ซึ่งเป็นความรู้ความชํานาญเฉพาะทาง (85% ของการให้บริการของ บริษัทที่ปรึกษาใน US เป็นการให้คําปรึกษาทางด้าน IT)
• Leading consulting firms
        - Accenture, IBM, HP

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561

Applications of Social Business



Social Business

          Social Business เป็นธุรกิจที่แสวงหากําไร (for-profits) ถึงแม้ไม่แสวงหากําไรสูงสุด แต่ ต้องมีผลประกอบการที่ได้กําไร และนํากําไรนั้นมาลงทุนกลับให้กับสังคม พร้อมกับการขยายตัวของธุรกิจ มุ่งเน้นสร้างความยั่งยืนทั้งในสถานะการเงินและสถานะทางเศรษฐกิจ ผู้ลงทุนได้ผลตอบแทนเฉพาะเท่าที่ได้ ลงทุนไป และโดยไม่ได้รับเงินปันผล หรือประโยชน์อื่นมากไปกว่าเงินที่ลงทุน ซึ่งการลงทุนอาจลงทุนโดยนัก ลงทุน หรือ คนยากจนหรือผู้ด้อยโอกาสเป็นเจ้าของ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ ประเด็นสําคัญของธุรกิจ ประเภทนี้คือ กําไรทั้งหมดคืนสู่สังคม เพื่อนําไปขยายตัวของธุรกิจ พัฒนาสินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่มี คุณภาพสูงขึ้นเพื่อสร้างประโยชน์ต่อสังคมได้มากขึ้น


Social Network

          โซเชียลเน็ตเวิร์ค หรือ Social Network คือเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือการที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนหนึ่ง เชื่อมโยงกับเพื่อนอีกนับสิบ รวมไปถึงเพื่อนของเพื่อนอีกนับร้อย ผ่านผู้ให้บริการด้านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) บนอินเตอร์เน็ต เช่น Facebook, Blogger, Hi5, Twitter หรือ Tagged เป็นต้น (บางเว็บไซต์ที่กล่าวถึงในตัวอย่าง ปัจจุบันนี้ได้เสื่อมความนิยมแล้ว) การเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้เกิดเครือข่ายขึ้น เช่น เราสามารถรู้จักเพื่อนของเพื่อนเราได้ เป็นทอดๆ ต่อไปเรื่อย ทำให้เกิดสังคมเสมือนจริงขึ้นมา สามารถสร้างคอนเน็คชั่นใหม่ๆ ได้ง่าย และเมื่อเราแชร์ (Share) ข้อความหรืออะไรก็ตามลงไปในเครือข่าย ทุกคนในเครือข่ายก็สามารถรับรู้ได้พร้อมกัน และสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เราแชร์ได้ เช่น แสดงความคิดเห็น (Comment) กดไลค์ (Like) ซึ่งอาจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละผู้ให้บริการ ความโดดเด่นในเรื่องความง่ายของโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ทำให้ธุรกิจ และนักการตลาดสนใจที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการ

CrowdSourcing

          คือการทำงานที่เกิดจากการรวมตัวของคนจำนวนมาก ซึ่งต่างคนก็มีความสามารถดีเด่นคนละด้าน เมื่อมารวมกันก็จะทำให้มีความสมบูรณ์จากหลายๆ ศาสตร์รวมกันในงานชิ้นเดียว นอกจากนี้ไม่จำเป็นต้องมานั่งทำงานด้วยกันเพียงอย่างเดียว เนื่องจากมีระบบออนไลน์ทำให้สามารถทำ CrowdSourcing ได้จากทุกที่ผ่านระบบออนไลน์

CrowdSourcing ถูกนำมาใช้ในด้านไหนบ้าง?

การระดมทุน

          การระดมทุนในรูปแบบนี้เรียกกันว่า “crowdfunding” เกิดจากผู้ที่มีไอเดียอยากทำสินค้าขายหรือทำธุรกิจแต่ขาดเงินทุน จึงต้องมีการระดมทุนผ่านระบบ crowdfunding โดยการนำไอเดียไปขึ้นสู่เว็บไซต์ประเภทนี้เช่น Kickstarter โดยผู้ที่สนใจในไอเดียก็จะบริจาคเงินทุนเพื่อการนำไปพัฒนาต่อยอดจนสามารถขายหรือทำธุรกิจได้จริง

การทำงานในบริษัทห้างร้าน
          เช่นการเสนอไอเดียจากพนักงานหลายๆ คน รวมถึงจากลูกค้า เพื่อนำมาช่วยในการวิเคราะห์และออกแบบสินค้าหรือบริการตัวใหม่ นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่รับทำ CrowdSourcing ช่วยหาคนหรือหน่วยงานมาร่วมการทำงานได้ ตัวอย่างเช่น มีโปรเจคหนึ่งของบริษัท แต่ไม่อยากใช้คนของตัวเองทั้งหมด ก็ไปให้บริษัท CrowdSourcing ช่วยหาคนหรือหน่วยงานจากหลายๆ คน มาช่วยในการทำงานชิ้นนี้ได้ ทำให้มีการต่อยอดและพัฒนาได้ดีกว่าเดิมเพราะมีความหลากหลายทางมุมมองความคิดรวมถึงอาจจะนำมาใช้เพื่อช่วยในการทำตลาดหรือทำ CSR ก็ได้ อย่างเช่น Toyota ที่จัดกิจกรรม ชื่อ Ideas for Good ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนที่สนใจได้ส่งความคิดเข้ามาว่าจะนำเทคโนโลยีของ Toyota มาช่วยให้โลกนี้ดีขึ้นได้อย่างไร เพื่อในมาใช้กับการทำ CSR ของ Toyota โดยอาศัยไอเดียจากคนทั่วไป

การแข่งขันเพื่อหาคำตอบที่ดีที่สุด
          บางการวิจัยก็ได้นำแนวคิดนี้เข้ามาใช้เช่น NASA เปิดโอกาสให้คนทั้งโลกสร้างระบบและหลักการคำนวณ (algorithm) ที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการตรวจหาดาวหางจากภาพถ่ายดวงดาวที่นาซ่าจัดหาไว้ให้ ผ่านทางระบบออนไลน์

ใช้ในการโหวตเลือกสินค้า
          เป็นการรวบรวมความเห็นจากผู้คนจำนวนมากเพื่อในการตัดสินใจผลิตและจำหน่ายสินค้า
ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูล
          การให้คนทุกคนสามารถส่งคำแปลภาษาท้องถิ่นเข้าสู่ระบบแปลภาษาได้


shared workspaces หรือ Co-Working Space

          หัวใจสำคัญของ Co-Working Space เริ่มต้นมาจากการทำงานในรูปแบบที่เรียกว่า Co-Working ซึ่งก็คือการที่กลุ่มคนจากต่างสาขาอาชีพมารวมตัวกันและทำงานในพื้นที่เดียวกัน ส่วนใหญ่แล้วคนที่จะมาทำงานร่วมกันนี้มักเป็นกลุ่มคนทำงานอิสระ ซึ่งแน่นอนว่าการทำงานในลักษณะนี้แตกต่างจากการทำงานในบริษัทหรือองค์กรโดยทั่วไป พูดง่าย ๆ ก็คือ ทุกคนต่างคนต่างทำงานของตัวเอง เพียงแต่แบ่งปันพื้นที่ในการทำงานร่วมกันเท่านั้น สถานที่เปิดให้เช่าพื้นที่ทำงานที่เรียกกันว่า Co-Working Space จึงได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อรองรับรูปแบบการทำงานในลักษณะนี้ ในบางครั้ง คำนิยามของ Co-Working Space นอกจากจะหมายถึงการรวมตัวกันในพื้นที่ทำงานชั่วคราวแล้ว ยังอาจหมายถึงชุมชนย่อม ๆ ที่เป็นสังคมแห่งการแบ่งปันของคนทำงานจากหลายสาขาอาชีพได้อีกด้วย


Co-Working Space เหมาะสำหรับใครบ้าง
          
          ผู้ที่ใช้บริการ Co-Working Space คือ ผู้ที่ต้องการความยืดหยุ่นในการทำงาน โดยส่วนมากจะเป็นกลุ่มคนที่กำลังรวมตัวกันเพื่อประกอบธุรกิจใหม่ (Startup Company) ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ (Freelancer) ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจ ถ้าคุณจะเจอคนจากหลากหลายสาขาอาชีพ เช่น Startup สาย Social Enterprise Developer สาย IT Graphic Designer หรือ คนทำงานสาย Creative ภายใน Co-Working Space แห่งเดียวกัน หรือถ้าหากคุณทำงานประจำ แต่อยากเข้าไปเล่นอินเทอร์เน็ต นั่งทำงานนอกสถานที่เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ ประชุมคุยงานด่วน หรือจะนัดพบกับลูกค้าคนสำคัญก็สามารถทำได้ไม่มีปัญหา


ทำไม Co-Working Space ถึงได้รับความนิยม
          
          คุณสมบัติอย่างแรกของ Co-Working Space ที่ทำให้คนทำงานรุ่นใหม่สนใจคงจะหนีไม่พ้นบรรยากาศการทำงานสบาย ๆ ดูเป็นกันเอง และการออกแบบสถานที่ที่คำนึงถึงประโยชน์ด้านการใช้งานและความสวยงาม ซึ่งนั่นทำให้ Co-Working Space นั้นแตกต่างจากออฟฟิศธรรมดา ๆ โดยสิ้นเชิง ทั้งนี้แม้ Co-Working Space แต่ละที่จะมีดีไซน์การตกแต่ง ประเภทเฟอร์นิเจอร์และสีสันที่ต่างกันออกไปตามความพึงพอใจของผู้ให้บริการ แต่โดยรวมแล้วทุกที่จะมีคุณสมบัติ 3 อย่างที่เหมือนกัน ได้แก่


ราคาประหยัดกว่าการเช่าออฟฟิศรายเดือน
          
          หากมองในมุมของความต้องการของตลาดแล้ว กลุ่มคนที่ต้องการเช่าพื้นที่สำนักงานเพื่อใช้เป็นที่ทำงานชั่วคราวนั้นคือกลุ่มคนเพียงกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งในอดีตก่อนการเกิดขึ้นของ Co-Working Space นั้น สำนักงานที่เปิดให้เช่าทำงานนั้นมักจะเป็นอาคารที่ใหญ่โต มีหลายชั้น และมีพื้นที่มากเกินความต้องการของคนกลุ่มนี้ เวลาทำสัญญาเช่าแต่ละครั้งก็ต้องจ่ายเงินล่วงหน้าเป็นเดือน ๆ หรือเป็นปีเลยด้วยซ้ำ ทำให้ไม่ตอบโจทย์คนทำธุรกิจที่เพิ่งสร้างตัวซึ่งมีกำลังคนน้อยและยังไม่มีเงินทุนมากนัก บางคนจึงเลือกที่จะใช้ร้านกาแฟ ร้านขนมหรือบ้านของตัวเองเป็นที่ทำงานชั่วคราวไปก่อน แต่เมื่อ Co-Working Space เริ่มได้รับความนิยมและเปิดให้เช่าโดยคิดค่าใช้จ่ายเป็นรายชั่วโมงและรายวันในราคาที่ประหยัดกว่า จึงไม่น่าแปลกใจที่สถานที่ทำงานชั่วคราวประเภทนี้จะดึงดูดเหล่าเจ้าของ Startup รุ่นใหม่ และคนทำงานอิสระอีกหลายสาขาอาชีพให้เข้ามาใช้บริการ


เหมาะสมกับการทำงานและไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่
          
          นอกจากเรื่องของความคุ้มค่าในการเช่าพื้นที่ทำงานในราคาประหยัดแล้ว Co-Working Space ยังเป็นมากกว่าพื้นที่รวมตัวของคนทำงาน แต่มันคือขุมกำลังของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการอิสระในชีวิต จะว่าไปแล้ว Co-Working Space แทบจะเรียกได้ว่าเป็นตัวแทนทางจิตวิญญาณของคนรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็น นักธุรกิจรุ่นใหม่ที่อยากจะเป็นเจ้านายตัวเอง ไม่อยากทำงานออฟฟิศ เป็นมนุษย์เงินเดือนแบบคนรุ่นก่อน ๆ หรือแม้แต่ นักเขียน ศิลปิน ไปจนถึงช่างภาพ ที่มักจะรับงาน Freelance เป็นจ็อบ ๆไป นั่นทำให้ Co-Working Space เหมาะกับลักษณะการทำงานและไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ยืดหยุ่น ไม่ยึดติดอยู่กับกรอบเดิม ๆได้อย่างลงตัว


มีทุกสิ่งที่คนทำงานต้องการ
          
          Co-Working Space ส่วนใหญ่มักมีอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการทำงาน ไล่ตั้งแต่เฟอร์นิเจอร์พื้นฐานอย่าง เก้าอี้ เบาะนั่งโซฟา หรือโต๊ะสำหรับวางคอมพิวเตอร์ ตลอดจนเครื่องพิมพ์เอกสาร อินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย รวมไปถึงของใช้ในสำนักงานอื่น ๆ ไม่ต่างจากออฟฟิศทั่วไป แต่สิ่งที่ Co-Working Space สามารถให้ได้มากกว่าออฟฟิศทั่วไปก็คือ ความยืดหยุ่นที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้าแต่ละคน ทั้งเรื่องเวลา (จะมากี่โมงก็ได้) หรือสถานที่ (เลือกนั่งตรงไหนของห้องก็ได้ในกรณีที่เป็นห้องรวม) ไม่ว่าจะมาคนเดียวหรือยกกันมาทั้งก๊วน ทั้งนี้ Co-Working Space บางที่ยังผสมผสานความเป็น Serviced Office หรือ มีการให้เช่าพื้นที่และอุปกรณ์การทำงานแบบครบวงจรเข้าไปด้วย เช่น การมีบริการให้เช่าห้องทำงานเฉพาะบุคคล ถ้าเราต้องการความเป็นส่วนตัวและต้องการสมาธิในการทำงาน ห้องประชุมเพื่อคุยงาน ห้องอบรมสัมมนา หรือพื้นที่พิเศษในการจัดกิจกรรม รวมไปถึงห้องครัวและห้องอาหาร บางแห่งยังมีเครื่องดื่ม หรือขนมขบเคี้ยวให้บริการฟรีอีกด้วย เรียกได้ว่าคนทำงานอยากได้อะไร Co-Working Space จัดให้ได้หมด          
          ด้วยเหตุผลทั้งหมดเหล่านี้ Co-Working Space จึงเปรียบเสมือนโลกใบใหม่ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความอิสระและความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน ที่สำคัญพื้นที่แห่งนี้จะทำให้การทำงานของคุณไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เฉพาะในห้องสี่เหลี่ยมแคบ ๆ แบบเดิมอีกต่อไป คุณจะเข้าไปทำงานในบรรยากาศสบาย ๆ เมื่อไหร่ก็ได้ตามใจ และคุณยังจะได้สังคมใหม่ ได้พบเพื่อนใหม่ ๆ จากสาขาอาชีพอื่น ๆ ในสถานที่แห่งการแบ่งปันแห่งนี้อีกด้วย


Blogs and Wikis

บล็อก

          บล็อก (blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"          บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์


การใช้งานบล็อก

          ผู้ใช้งานบล็อกจะแก้ไขและบริหารบล็อกผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์เหมือนการใช้งานและอ่านเว็บไซต์ทั่วไป โดยจะมีรูปแบบบริหารบล็อกที่แตกต่างกัน เช่นบางระบบที่มีบรรณาธิการของบล็อก ผู้เขียนหลายคนจะส่งเรื่องเข้าทางบล็อก และจะต้องรอให้บรรณาธิการอนุมัติให้บล็อกเผยแพร่ก่อน บล็อกถึงจะแสดงผลในเว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งจะแตกต่างจากบล็อกส่วนตัวที่จะให้แสดงผลได้ทันที

          ผู้เขียนบล็อกในปัจจุบันจะใช้งานบล็อกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งไม่ว่า ติดตั้งซอฟต์แวร์ของตัวเอง หรือใช้งานบล็อกผ่านทางเว็บไซต์ที่ให้บริการบล็อก

          สำหรับผู้อ่านบล็อกจะใช้งานได้ในลักษณะเหมือนอ่านเว็บไซต์ทั่วไป และสามารถแสดงความเห็นได้ในส่วนท้ายของแต่ละบล็อกโดยอาจจะต้องผ่านการลงทะเบียนในบางบล็อก นอกจากนี้ผู้อ่านบล็อกสามารถอ่านบล็อกได้ผ่านระบบฟีด ซึ่งมีให้บริการในบล็อกทั่วไป ทำให้ผู้ใช้สามารถอ่านบล็อกได้โดยตรง ผ่านโปรแกรมตัวอื่นโดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาสู่หน้าบล็อกนั้น


บล็อกซอร์ฟแวร์
          บล็อกซอฟต์แวร์ หรือ บล็อกแวร์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต ในลักษณะของระบบจัดการเนื้อหาเว็บ ที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และผู้เขียนหรือดูแลบล็อกจะแยกจากกันต่างหาก ส่งผลให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ในด้านเอชทีเอ็มแอล หรือการทำเว็บไซต์แต่อย่างใด ทำให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้เวลาส่วนใหญ่ในการ บริหารจัดการ เพิ่มเติม ข้อมูลและสารสนเทศแทนได้ นอกจากนี้บล็อกซอฟต์แวร์จะสนับสนุน ระบบ WYSIWYG ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเขียน และอาจเพิ่มเติมการมีเทมเพลตในหลายแบบให้เลือกใช้

          ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งได้ทันทีโดยผู้ใช้ ซึ่งซอฟต์แวร์บางส่วนเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ซึ่งผู้พัฒนาสามารถนำมาปรับแก้ เป็นของตนเอง ติดตั้งไว้ใช้เป็นบล็อกส่วนตัว หรือเผยแพร่ให้คนอื่นมาใช้งานได้ ส่วนซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์นั้น จะมีทั้งในรูปแบบที่ให้ใช้งานแบบเสียค่าใช้จ่ายหรือให้ใช้งานฟรี

wiki

          วิกิ หรือ วิกี้ (wiki) คือ ลักษณะของเว็บไซต์แบบหนึ่ง ที่อนุญาต ให้ผู้ใช้ เพิ่มและแก้ไขเนื้อหาได้โดยง่าย ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องการลงทะเบียนเพื่อแก้ไข ด้วยความง่ายในการแก้ไขและโต้ตอบ วิกิเว็บไซต์มักจะถูกนำมาใช้ในการร่วมเขียนบทความ คำว่า "วิกิ" นี่ยังรวมหมายถึงวิกิซอฟต์แวร์ซึ่งเป็น ตัวซอฟต์แวร์รองรับการทำงานระบบนี้ หรือยังสามารถหมายถึงตัวเว็บไซต์เองที่นำระบบนี้มาใช้งาน


ประวัติความเป็นมาของ Wiki

          วิกิตัวแรกชื่อว่า WikiWikiWeb สร้างโดย วอร์ด คันนิงแฮม เมื่อพ.ศ. 2537 สำหรับโครงการ Portland Pattern Repository ของเขา โดยได้เขียนโปรแกรมขึ้นด้วยภาษาเพิร์ลและติดตั้งลงที่เว็บ c2.com โดยชื่อของ วิกิ นั้นมาจากชื่อรถประจำทางสาย "วิกิ วิกิ" (Wiki Wiki) ของระบบรถขนส่งแชนซ์ อาร์ที-52 ที่ สนามบินฮอโนลูลูในรัฐฮาวาย คำว่าวิกิในภาษาฮาวายมีความหมายว่าเร็ว ดังนั้นคำว่า "วิกิวิกิ" หมายถึง "เร็วเร็ว" นั่นเอง
ระบบวิกิเริ่มเป็นที่รู้จักภายหลังจากที่สารานุกรมวิกิพีเดียได้นำมาใช้ ซึ่งต่อมาได้มีหน่วยงานหลายส่วนได้นำระบบวิกิมาใช้ไม่ว่าในการจัดการเอกสาร การติดต่อสื่อสาร หรือแม้แต่การร่วมเขียนโปรแกรม

Wiki ทำงานอย่างไร 



          เว็บไซต์ Wiki ใช้ซอฟต์แวร์ MediaWiki ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ไม่ค่าลิขสิทธิ์ทำงาน เป็นประเภท GNU General Public License (GPL). เผยแพร่ภายใต้ข้อกำหนดขอ GNU General ออกแบบติดตั้งที่คอมพิวเตอร์ฝั่ง Server ซอฟต์แวร์ MediaWiki ถูกออกแบบให้ทำงานบน Sever ขนาดใหญ่ มีขีดความสามารถสูง พัฒนาโดยใช้ภาษา PHP ร่วมกับระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล MySQL การสร้างเอกสารเผยแพร่ใช้รูปแบบของ wikitext format โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องมีความรู้ภาษา XHTML หรือ CSS (Cascading Style Sheets) ซึ่งเป็นภาษาหลักในการสร้างและจัดรูปแบบเอกสารที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์


Social Commerce


  • Subset of e-commerce (หน่วยย่อยของ e-commerce)
  • Social interaction + user contribution into online buying and selling (อาศัยความความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเป็นหลัก)
  • Using social networks as a medium (มี social media ต่างๆเป็นสื่อกลาง รวมถึงเป็นร้านค้าออนไลน์ด้วย)
  • The context of e-commerce (โดยรวมแล้วอยู่ในบริบทของคำว่า e-commerce)




Sales Funnel of Social Commerce
  1. ทำการตลาดโดยการเริ่มต้นจากการให้คุณค่าก่อนผ่านคอนเทนต์ ของฟรีเพื่อทดลอง
  2. ให้จนผู้บริโภครู้สึกว่าได้รับจนต้องให้คืนบ้างไม่งั้นจะรู้สึกผิด
  3. ผู้บริโภคมีสิทธิ์ในการผลิตของเทนต์เกี่ยวกับสินค้า และ ให้คะแนนกับห้างร้านต่างๆบนโลกออนไลน์
  4. การขายจะเกิดขึ้น ผ่านเครือข่ายของผู้บริโภคบนโลกออนไลน์
  5. เกิดการซื้อซํ้าเพราะความน่าเชื่อถือบนโลกออนไลน์


ปัจจัย สร้างความสำเร็จให้ Social Commerce

  • คุณค่าที่จะมอบให้ผู้บริโภคก่อนที่จะเป็นลูกค้าผ่านคอนเทนต์ ผ่านของขวัญ ผ่านสื่อต่างๆ
  • การสร้าง mood and tone ให้กับสังคมชุมชนลนโลกออนไลน์
  • มีหลักฐานความสำเร็จ ที่ได้รับจากการรีวิวของลูกค้าเอง
  • ผู้บริโภคมีอำนาจที่จะผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับแบรนด์นั้นๆ



File Sharing 

การใช้งานไฟล์หรือโฟล์เดอร์ร่วมกัน

          การใช้งาน File Sharing หรือที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า File Server (เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้เก็บไฟล์) คือ ที่เก็บไฟล์ส่วนกลางของบริษัท โดยทาง Factory Manager ได้กำหนดนโยบายว่าทุกแผนกต้องเก็บไฟล์ไว้ที่ส่วนกลางเท่านั้น ไม่ให้เก็บไว้ที่เครื่องตัวเอง
          ข้อดีของการจัดเก็บไฟล์งานไว้ที่ File Server คือ สามารถบริหารจัดการสิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์หรือโฟล์เดอร์ต่างๆได้, สามารถบริหารจัดการไฟล์หรือข้อมูลได้สะดวกและมีประสิทธิภาพ เช่น มีการสำรองข้อมูลทุกวัน หรือในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ไม่กระทบกับไฟล์ข้อมูล เป็นต้น


Social Maketing


          นับตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช 1990 ได้เกิดคิดแนวใหม่ซึ่งเกิดการขั้นแย้งจากนักธุรกิจหลายท่านในยุค ที่ ก่อนหน้านั้นเป็นเพียงการเน้นแสวงหาผลประกอบการและการลดต้นทุน และแนวคิดที่ว่านั้นอาจจะไม่ เกี่ยวข้องกับธุรกิจโดยตรง และนั้นคือการตลาดเชิงสังคม (Social Marketing) หรือการสร้างภาพลักษณ์ อันดีของธุรกิจขององค์กรต่อสังคมเมื่อแนวคิดนี้ได้ถูกนํามาใช้ขับเคลื่อนการตลาด หลายองค์กรถือว่า ประสบความสําเร็จเป็นอย่างมาก ซึ่งสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างง่ายดาย          
          
          “Social Marketing” หรือในที่เข้าใจกับในรูปแบบของ “Customer Social Relationship : CSR” และแก่น ความหมายที่จริงของการตลาดในรูปแบบนี้ก็คือการสร้างสรรค์สังคม หรือการแบ่งส่วนของผลประกอบ การกลับเข้าเพื่อเข้าสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ทั้งในถิ่นที่ตั้งอยู่หรือแม้กระทั่งสังคมโลกก็ตาม โดยเป้าหมายของการทําเพื่อสังคมนั้นนอกจากสร้างความเป็นอยู่ที่ดีต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง แล้วนั้น การสร้าง Branding และภาพลักษณ์อันดีเพื่อให้สังคมและกลุ่มผู้บริโภคจดจําได้หรือเรียกได้ ว่าเป็นการสร้างการตลาดแบบยั่งยืนทั้งต่อผู้ประกอบการและต่อชุมชนเอง         
         
           “การทํากิจกรรมเพื่อสังคม” ตามเป้าหมายของ Social Marketing นั้นทุกองค์กร ทุกแวดวงสามารถ ทําได้ไม่ว่าจะเป็นองค์กรแสวงหากําไรทั่วไป หรือแม้จะเป็นธุรกิจต้องห้ามของสังคมหรือธุรกิจอย่าง เหล้า เบียร์ บุหรี หรือแม้กระทั้งผับบาร์ต่างๆ โดยเป้าหมายของธุรกิจแต่ละแวดวงนั้นเป้าหมายก็ใกล้ เคียงกันนั่นก็คือการคืนกําไรสู่สังคมและสิ่งแวดล้อม หากจะหยิบยกตัวอย่างขึ้นมาสักหนึ่งตัวอย่างนั้น สิ่งที่ชัดเจนที่สุดก็คืออย่างเช่น การสร้างโฆษณาที่เชิญชวนให้รักเมืองรักบ้านเกิดรักทรัพยากรของ ประเทศ ผ่านโฆษณาทีวีโทรทัศน์และจากตัวอย่างที่หยิบยกมานั้นจะเห็นได้ว่า กิจกรรมที่เหล่าแบรนด์ น้ําเมาแต่ละเจ้านั้นส่งคืนสู่สังคมถึงแม้ว่าอาจจะได้เกี่ยวข้องกับแบรนด์และสินค้าโดยตรง แต่นั้นก็เป็น เหมือนการลบล้างภาพลักษณ์ที่ดูแย่ต่อสังคมให้กลายเป็นภาพหลักที่ดีขึ้นนั้นเอง          
         
          อีกหนึ่งตัวอย่างกิจกรรม CSR ที่สร้างขึ้นมาเพื่อพัฒนาแหล่งทํากินของตนและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ แก่องค์กรด้วยอย่างเช่น “การดําน้ําเก็บขยะได้ทะเลของเหล่าบรรดาผู้ประกอบกิจการนําเที่ยว”          
          จากตัวอย่างทั้งหมดทั้งมวลที่ได้หยิบยกขึ้นมานั้นจะเห็นได้ว่าในบางครั้งเป้าหมายจริงๆของ “Social Marketing” คือการสร้างความยั่งยืนแก่สังคมและสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจุบันได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปจาก ความยั่งยืนให้กลายเป็นความฉาบฉวย หรือการแย่งชิงโอกาสเพียงเท่านั้น ความร้อนแรงในการแข่งขัน ในตลาด CSR นั้นก็มีมากขึ้นพอสมควรในการแย่งชิงหน้าตา และการแย่งชิงภาพลักษณ์เพื่อความโดด เด่นในสังคม แต่สิ่งที่ได้รับอาจจะไม่ความยั่งยืนตามที่วางไว้แต่อาจจะเป็นเพียงผลกําไรที่ฉาบฉวย เท่านั้น



วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่ 2 องค์การ การจัดองค์การ การตัดสินใจ

องค์การ การจัดองค์การ การตัดสินใจ

ความหมาย


องค์การ คือ หน่วยสังคมที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มบุคคล โดยมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เดียวกัน มีการจัดการอย่าง เป็นระบบ ร่วมกันทํากิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ลักษณะองค์การ นักวิชาการได้ศึกษาวิเคราะห์องค์การในแง่มุมต่าง ๆ กันในหลายลักษณะ สรุป ได้ดังนี้
1. องค์การเป็นโครางสร้างของความสัมพันธ์ (Organization as a Structure of Relationship) แนวคิดนี้มององค์กร ในลักษณะหน่วยงานย่อยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน มีการกําหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานย่อย
2. องค์การเป็นกลุ่มของบุคคล (Organization as a Group of People) แนว คิดนี้มององค์การว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่มี เป้าหมายร่วมกัน บุคคลจะแสวงหาความร่วมมือจากบุคคลอื่น ๆเสมอ ทํางานร่วมกับบุคคลอื่นก็เพื่อสนองความต้องการของตน
3. องค์การเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ (Organization as a Function of Management) แนวคิดนี้มององค์การเป็น หน้าที่สําคัญอย่างหนึ่งของผู้บริหารที่จะต้องทําการ จัดการเพื่อนําปัจจัยต่าง ๆ ขององค์การมาใช้ คือ คน เงิน วัสดุ และอุปกรณ์ ต่าง ๆ
4. องค์การเป็นกระบวนการ (Organization as a Process) แนวคิดนี้มององค์การเป็นกระบวนการจัดกลุ่มงานที่มี ลักษณะคล้ายคลึงกันมารวมกันไว้ มีการแบ่งงานกันทําตามความถนัดและร่วมมือกันทํางาน
5. องค์การเป็นระบบอย่างหนึ่ง (Organization as a System) แนว คิดนี้มององค์การเป็นระบบเปิดประกอบด้วยระบบ ย่อย ๆโดยมีปัจจัยนําเข้า (input) กระบวนการ (process) ผลผลิต (output) ข้อมูลย้อนกลับ (feed-back) และสิ่งแวดล้อม (environment)

องค์ประกอบขององค์การ มีดังนี้
1. กลุ่มบุคคล
2. มีเป้าหมายร่วมกัน
3. การกําหนดหน้าที่
4. การแบ่งงานความสัมพันธ์ระหว่างกัน

โครงสร้างองค์การ (Organization Structure)

หมายถึง ระบบการติดต่อสื่อสาร และอํานาจบังคับบัญชาที่เชื่อมต่อ คน และกลุ่มคนเข้าด้วยกัน เพื่อทํางานร่วมกันจนบรรลุเป้าหมายขององค์การ
โครงสร้างขององค์การประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ (Objective)
2. ภาระหน้าที่ (Function)
3. การแบ่งงานกันทํา (Division of Work)
4. การบังคับบัญชา (Hierarchy)
5. ช่วงของการควบคุม (Span of Control)
6. เอกภาพการบังคับบัญชา (Unity of Command)

รูปแบบองค์การ
รูปแบบที่เป็นทางการ เป็นองค์การที่มีการรวมตัวกันของกลุ่ม อย่างมีระบบ แบบแผน ชัดเจน ครอบคลุมทุกส่วนของ การปฏิบัติงาน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
รูป แบบที่ไม่เป็นทางการ เป็นองค์การที่มีการรวมตัวกันของกลุ่ม อย่างไม่มีระบบของการบริหารไม่กฏเกณฑ์ ไม่ ระเบียบข้อบังคับของการปฏิบัติงาน
ประเภทขององค์การ
1. แบ่งตามความมุ่งหมายขององค์การ แบ่งได้ 4 ประเภท คือ
1.1 องค์การเพื่อประโยชน์ของสมาชิก (Mutual-Benefits)
1.2 องค์การธุรกิจ (Business Concerns)
1.3 องค์การเพื่อสาธารณะ (Commonweal Organization)
1.4 องค์การเพื่อบริการ (Service Organization)
2. แบ่งตามการจัดระเบียบภายในองค์การ (Formal Organization) เกิดจากความสัมพันธ์ส่วนบุคคลในกลุ่มองค์กร แบบเป็น ทางการหรืออาจเกิดขึ้นในสังคมใดก็ได้
3. แบ่งตามลักษณะความเป็นเจ้าของ แบ่งได้ 2 ประเภท
3.1 องค์การรัฐกิจ
3.2 องค์การธุรกิจที่เอกชนเป็นเจ้าของ

การจัดโครงสร้างขององค์การ
1. โครงสร้างองค์การแบบหน่วยงานหลัก (Line Organization Structure)
2. โครงสร้างองค์การแบบหน่วยงานหลัก และหน่วยงานที่ปรึกษา (Line and Staff Organization Structure)
3. โครงสร้างองค์การแบบหน้าที่การวางเฉพาะ (Function of Organization Structure)
4. โครงสร้างขององค์การแบบคณะกรรมการ (Committee Organization Structure)
5. โครงสร้างองค์การแบบโครงการ (Project Organization Structure)
6. โครงสร้างองค์การแบบแมทริกซ์ (Matrix Organization Structure)

แนวโน้มโครงสร้างองค์การสมัยใหม่
1. สายการบังคับบัญชาสั้นลง (Shorter Chan of Command)
2. ขนาดการควบคุมกว้างขึ้น (Wider Span of Control)
3. ความเป็นเอกภาพของการบังคับบัญชาน้อยลง (Less Unity of Command)
4. การมอบหมายงานและการให้คนมีอํานาจมากขึ้น (More delegation and empowerment)
5. การกระจายอํานาจอย่างรวมอํานาจ (Decentralization with Centralization)
6. โครงสร้างขนาดเล็กอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ (Smallness with Bigyness)
7. ลดจํานวนที่ปรึกษาให้เหลือน้อยลง (Reduce Staff Component)

หลักการจัดองค์การ
- การจัดองค์การหมายถึง กระบวนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่การงานของบุคลากร ความสัมพันธ์ระหว่างงาน ประเภทต่างๆ สายงานการบังคับบัญชา อย่างชัดเจนที่ผู้บริหารและผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้กําหนด เพื่อใช้เป็นกรอบ และ ทิศทางให้สมาชิกในองค์การได้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานขององค์การดําเนินได้อย่างชัดเจน มีระเบียบและมีแบบแผน หลักการจัดองค์การโดยทั่วไปประกอบด้วย
1. นโยบายที่ชัดเจน
2. มีการแบ่งงาน
3. กําหนดลักษณะของงานให้ชัด
4. มีสายการบังคับบัญชา
5. มีเอกภาพในการบังคับบัญชา หรือมีผู้บังคับบัญชาเพียงคน
6. ช่วงของการควบคุม
7. การประสานงาน
8. การยืดหยุ่น
9. ความต่อเนื่อง

ความสําคัญของการจัดองค์การ
1. เพื่อแสดงให้เห็นถึงกระแสการไหลของงาน
2. ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงขอบเขตของงาน
3. เป็นกรอบที่เชื่อมโยง การทุ่มเทความพยายาม ที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนการวางแผน และการควบคุมไปสู่ผลสําเร็จ
4. จัดวางช่องทางเพื่อการติดต่อสื่อสาร และการตัดสินใจ
5. ป้องกันการทํางานที่ซ้ําซ้อน และขจัดข้อขัดแย้งในหน้าที่การงาน
6. ช่วยให้มองภาพความสัมพันธ์ระหว่างงาน ผู้ปฏิบัติงาน และเป้าหมายขององค์การ

ประโยชน์ของการจัดองค์การ
1. การตอบสนองความต้องการทางสังคม
2. การตอบสนองความต้องการทางวัตถุ
2.1. เพื่อเพิ่มกําลังความสามารถ
2.2. เพื่อช่วยให้มีการปฏิบัติงานที่รวดเร็ว และแข่งกับเวลา

การพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การ คือ ความพยายามเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผนทั่วทั้งองค์การโดยเริ่มจากฝ่ายบริหารระดับ สูง เพื่อเพิ่ม ความมีประสิทธิภาพและความเจริญเติบโตขององค์การโดยการสอดแทรกสิ่ง ที่ได้มีการวางแผนไว้แล้วเข้าไปในกระบวนการของ องค์การด้วยการใช้ความรู้ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์

ขั้นตอนในการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การควรดําเนินการเป็น 3 ขั้นตอนคือ
1. การวิเคราะห์ปัญหาขององค์การ
2. การสอดแทรกวิธีการใหม่ๆเข้าไปเพื่อพัฒนาองค์การ
3. การบํารุงรักษาวิธีการใหม่ๆนั้นให้คงอยู่ตลอดไป

หลักการพัฒนาองค์การ
1. การพัฒนาทางด้านโครงสร้าง
2. การพัฒนาทางด้านกระบวนการ

วิธีการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การมีวิธีการหลายแบบที่นํามาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนําวิธีการฝึกอบรมในห้องปฏิบัติการมาใช้เป็นที่ นิยมแพร่หลายมานานได้แก่
1. การฝึกอบรมแบบการฝึกการปะทะสังสรรค์ 2. การประชุมปรึกษาหารือ 3. การสร้างทีมงาน 4. การสำรวจข้อมูลย้อนกลับ


การตัดสินใจ (Decision Making) 
หมายถึงกระบวนการเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง จากหลาย ๆ ทางเลือกที่ได้พิจารณา หรือประเมินอย่างดีแล้วว่า เป็นทางให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ การตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญ และเกี่ยวข้องกับ หน้าที่การบริหาร หรือการจัดการเกือบทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การจัดองค์การ การจัดคนเข้าทำงาน การประสานงาน และการควบคุม การตัดสินใจได้มีการศึกษามานาน
ความหมายของการตัดสินใจ นักวิชาการได้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันดังนี้
  • บาร์นาร์ด (Barnard, 1938) ได้ให้ความหมายของการตัดสินใจไว้ว่า คือ "เทคนิคในการที่จะพิจารณาทางเลือกต่างๆ ให้เหลือทางเลือกเดียว"
  • ไซมอน (Simon) ได้ให้ความหมายว่า การตัดสินใจ เป็นกระบวนการของการหาโอกาสที่จะตัดสินใจ การหาทางเลือกที่พอเป็นไปได้ และทางเลือกจากงานต่าง ๆ ที่มีอยู่
  • มูดี (Moody) ได้ให้ความหมายว่า การตัดสินใจเป็นการกระทำที่ต้องทำเมื่อไม่มีเวลาที่จะหาข้อเท็จจริงอีกต่อไป ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อใดถึงจะตัดสินใจว่าควรหยุดหาข้อเท็จจริง แนวทางแก้ไขจะเปลี่ยนแปลงไปตามปัญหาที่ต้องการแก้ไข ซึ่งการรวบรวมข้อเท็จจริง เกี่ยวพันกับการใช้จ่ายและการใช้เวลา
  • กิบสันและอิวาน เซวิช (Gibson and Ivancevich) ได้ให้ความหมายของการตัดสินใจไว้ว่า เป็นกระบวนการสำคัญขององค์การ ที่ผู้บริหารจะต้อง กระทำอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลข่าวสาร (information) ซึ่ง ได้รับมาจากโครงสร้างองค์การ พฤติกรรมบุคคล และกลุ่มในองค์การ
  • โจนส์ (Jones) ได้ให้ความหมายของการตัดสินใจองค์การว่าเป็นกระบวนการ ที่จะแก้ไขปัญหาขององค์กร โดยการค้นหาทางเลือก และเลือกทางเลือกหรือแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การที่ได้กำหนดไว้
        จากคำนิยามข้างต้นอาจกล่าวได้ว่า มีมุมมองของนักวิชาการที่แตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียดแต่ประเด็นหลักที่มองเหมือนกันคือ
  1. การตัดสินใจเป็นกระบวนการ (process) นั่นหมายความว่าการตัดสินใจต้องผ่านกระบวนการคิด พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์แล้ว ค่อยตัดสินใจเลือก ทางที่ดีที่สุด มีหลายท่านคิดว่าการตัดสินใจไม่มีขั้นตอนอะไรมากคิดแล้วทำเลย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการคิดก็ต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสาร (search) การออกแบบ (design) และการเลือก (choice) เพื่อให้สามารถเลือกทางเลือกได้ดีที่สุด
  2. การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับทางเลือก (solution) การตัดสินใจเป็นการพยายามสร้างทางเลือกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทางเลือกที่น้อยอาจปิดโอกาสให้เกิดความคิดสร้างสรรค์หรือทางเลือกที่ดีกว่าได้ ผู้บริหารที่ดีจำเป็นต้องมีการฝึกฝนการสร้างทางเลือกที่มากขึ้น หลากหลายด้วยวิธีการคิดแบบริเริ่ม (initiative) และคิดแบบสร้างสรรค์ (creative thinking)
  3. การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับโครงสร้างขององค์การ จะเห็นว่าผู้บริหารในแต่ละระดับชั้นก็มีหน้าที่ในการตัดสินใจต่างกัน กล่าวคือ ผู้บริหารระดับสูงจำเป็นต้องตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (strategic decision) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับแนวทางที่ถูกต้องเพื่อใช้ทรัพยากรที่จำเป็นให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การที่กำหนดไว้ ผู้บริหารระดับกลางจะตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ (management decision) เป็นการตัดสินใจเพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้บริหารระดับต้นจะตัดสินใจเกี่ยวกับการปฏิบัติการ (Operational decision) เป็นการตัดสินใจดำเนินการควบคุมงานให้สำเร็จตามระยะเวลาและเป้าหมายที่กำหนดไว้
  4. การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมคน จะเห็นว่าการตัดสินใจเกี่ยวข้องตั้งแต่คนเดียว กลุ่มและทั้งองค์การ ซึ่งพฤติกรรมคนแต่ละคนก็แตกต่างกัน ผู้บริหารที่ดีจะต้องมีความเข้าใจและมีจิตวิทยาเกี่ยวข้องกับบุคคลกลุ่ม และองค์การที่ดีพอจึงจะทำให้การตัดสินใจประสบผลสำเร็จได้

         ดังนั้นกล่าวได้ว่า การตัดสินใจ คือ ผลสรุปหรือผลขั้นสุดท้ายของกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลเพื่อเลือกแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ ทรัพยากร และบุคคล สามารถนำไปปฏิบัติและทำให้งานบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการ
การตัดสินใจ เป็นส่วนหนึ่งของบทบาทของผู้บริหารที่เกิดจากตำแหน่งและอำนาจที่เป็นทางการ คือบทบาทการเป็นผู้ประกอบการ (Enterpreneur) บทบาทผู้จัดการสถานการณ์ที่เป็นปัญหา (Disturbance Handler) บทบาทผู้จัดทรัพยาการ (Resource Allocator) และบทบาทผู้เจรจาต่อรอง (Negotiator)

ความสำคัญของการตัดสินใจ
     ทฤษฎีการบริหารองค์การในยุคหนึ่งได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหาร (Management Process) อันได้แก่ การวางแผน การจัดการองค์การ การบริหารงานบุคคล การอำนวยการและการควบคุม ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดไปว่า แม้ว่าจะทำหน้าที่ดังกล่าวได้ดีเพียงใดก็ตาม แต่ถ้าขาดการตัดสินใจที่ดีพอแล้วยากที่จะทำให้การบริหารองค์การสู่ความสำเร็จได้ การตัดสินใจจึงมีความสำคัญ 4 ประการ ดังนี้
       1. การตัดสินใจเป็นเครื่องวัดความแตกต่างระหว่างผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงาน ผู้ที่เป็นผู้บริหารในระดับต่าง ๆ จะต้องแสดงความรู้ ความสามารถในการตัดสินใจที่ดีกว่าผู้ปฏิบัติงาน ผู้บริหารจะต้องมีเหตุผล มีหลักการ มีเจตคติและวิจารณญาณที่ดีกว่า ความสามารถในการตัดสินใจคือมูลค่าเพิ่มที่ผู้บริหารต้องทำให้เห็นว่า นี่คือความแตกต่างที่สมแล้วกับค่าจ้างเงินเดือนในตำแหน่งผู้บริหาร
       2. การตัดสินใจเป็นมรรควิธีนำไปสู่เป้าหมายองค์การ ผู้บริหารควรตระหนักเสมอว่า การตัดสินใจมิใช่เป็นเป้าหมายในตัวของมันเอง แต่เป็นมรรควิธี แนวทาง วิธีการและเครื่องมือที่จะทำให้การบริหารองค์กรประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ดังนั้น การกำหนดเป้าหมายองค์การให้ชัดเจนก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเริ่มต้น การหาวิธีการและแนวทางปฏิบัติที่หลากหลายก็เป็นขั้นตอนที่กระทำตามมา และนี่คือการตัดสินใจนั่นเอง การกำหนดแนวทางวิธีการที่ดี ที่หลากหลายและสร้างสรรค์จะนำพาให้องค์การสู่ความสำเร็จได้
      3. การตัดสินเป็นเสมือนสมองขององค์การ การตัดสินใจที่ดีก็เหมือนกับคนเรามีสมอง และระบบประสาทที่ดีก็จะทำให้ตัวเราประสบผลสำเร็จในชีวิตการงาน ชีวิตส่วนตัวและชีวิตทางสังคมได้ ในขณะเดียวกันถ้าเป็นการตัดสินใจขององค์กรที่ดีก็จะต้องมีสมอง และระบบประสาทขององค์กรที่ดีด้วยจึงจะทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลได้ ผู้บริหารที่ดีจะต้องกระตือรือร้น ใฝ่หาแนวทางแก้ไขปัญหาอยู่ตลอดเวลา จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงสถานการณ์ กำหนดแนวทางใหม่ๆ ยกระดับมาตรฐานและป้องกันปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ได้
      4. การตัดสินปัญหาเป็นกลยุทธ์การแก้ปัญหาในอนาคต ในทฤษฎีการตัดสินใจทั่วไปมองว่าเป็นการแก้ไขปัญหาในอดีต ซึ่งได้แก่ปัญหาข้อขัดข้องซึ่งมีสะสมมาตั้งแต่ในอดีต และมีแนวโน้มมากขึ้นในอนาคต ซึ่งก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้หมดสิ้นและยังมีปัญหาใหม่ ๆ เข้ามาอีกมากมาย โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนกรอบแนวคิด (paradigm) ในการมองปัญหาใหม่ให้มองไปถึงปัญหาในอนาคต ซึ่งได้แก่ปัญหาป้องกัน รู้แล้วว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ก็ควรมีการตัดสินใจล่วงหน้าก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น ปัญหาเชิงพัฒนาก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้บริหารต้องให้ความสนใจ เป็นการมองโดยใช้วิสัยทัศน์ (vision) ของผู้บริหารในการพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคต กำหนดภาพอนาคต (scenario) ไว้พร้อมกำหนดทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาในแต่ละภาพอนาคตนั้นด้วย อาทิ ภาพอนาคตมุ่งเน้น 3 C ได้แก่ ลูกค้า (Customer) การแข่งขัน (Competition) และการเปลี่ยนแปลง (Change) ดังนั้นผู้บริหารเตรียมการที่จะคิดวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ในเรื่องดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ในการบริการลูกค้าเหนือความคาดหวัง กลยุทธ์การแข่งขันสู่ความเป็นเลิศ และกลยุทธ์สู่องค์การอัจฉริยะ เป็นต้น

ลักษณะของการตัดสินใจ
      กุลชลี ไชยนันตา (2539:130) ได้สรุปลักษณะของการตัดสินใจจาก ลูมบา (Loomba, 1978:100-103) ไว้ดังนี้
      1. การตัดสินใจเป็นกระบวนการของการเปรียบเทียบผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ที่จะได้ รับจากทางเลือกหลาย ๆ ทาง โดยที่ผู้ตัดสินใจจะเลือก ทางเลือกที่ให้ประโยชน์สูงสุด
      2. การตัดสินใจเป็นหน้าที่ที่จำเป็น เพราะทรัพยากรมีจำกัด และมนุษย์มีความต้องการไม่จำกัด จึงจำเป็นต้องมีการตัดสินใจ เพื่อให้ได้รับประโยชน์และ ความพอใจจากการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. ในการปฏิบัติงานของฝ่ายต่าง ๆ ในองค์การ อาจมีการขัดแย้งกัน เช่น ฝ่ายผลิต ฝ่าย บุคคล ฝ่ายการเงินการบัญชี ฝ่ายการบริหารงานบุคคล แต่ละฝ่ายอาจมีเป้าหมายของการทำงานขัดแย้งกัน ผู้บริหารจึงต้องเป็นผู้ตัดสินใจชี้ขาด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การโดยส่วนรวม
      4. กระบวนการตัดสินใจประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ข้อจำกัด การกำหนดทางเลือก ส่วนที่สอง เป็นการเลือกทางเลือกหรือ กลยุทธ์ที่ดีที่สุดตามสภาวการณ์
      5. การตัดสินใจมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายและลักษณะของปัญหา เช่น อาจแบ่งออกได้เป็นการตัดสินใจตามลำดับขั้น ซึ่งมักเป็นงานประจำ เช่น การจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ตารางการทำงาน เป็นต้น และการตัดสินใจที่ไม่เป็นไปตามลำดับขั้น เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นนาน ๆ ครั้ง เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการริเริ่มงานใหม่ เช่น ตั้งคณะใหม่ หรือขยายโรงงานใหม่ เป็นต้น

ชนิดของการตัดสินใจ

ไซมอน (Simon, 1960:5-6) ได้แบ่งชนิดของการตัดสินใจออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ดังนี้
      1. การตัดสินใจที่กำหนดไว้ล่วงหน้าหรือมีแบบอย่างไว้ล่วงหน้า (Programmed decisions) เป็นการตัดสินใจตามระเบียบ กฎเกณฑ์ แบบแผนที่เคยปฏิบัติมาจนกลายเป็นงานประจำ เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการลาป่วย ลากิจ ลาบวช การอนุมัติการเบิกจ่ายเงิน การอนุมัติผลการศึกษา เป็นต้น การตัดสินใจแบบกำหนดไว้ล่วงหน้านี้ เปิดโอกาสให้ผู้บริหารเลือกทางเลือกได้น้อย เพราะว่าเป็น การตัดสินใจภายใต้สภาวการณ์ที่แน่นอน
      2. การตัดสินใจที่ไม่ได้กำหนดหรือไม่มีแบบอย่างไว้ล่วงหน้า (Nonprogrammed decisions) เป็นการตัดสินใจในเรื่องใหม่ ที่ไม่เคยมีมาก่อน ไม่มีระเบียบ กฎเกณฑ์ แบบแผนที่เคยปฏิบัติมาก่อน จึงเป็นเรื่องยุ่งยากแก่ผู้ตัดสินใจ โดยที่ผู้บริหาร หรือผู้ตัดสินใจ จะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงและความไม่แน่นอนด้วย เช่น การตัดสินใจนำเงินไปลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนหรือผลกำไรในธุรกิจ การตัดสินใจผลิตสินค้าตัวใหม่ การตัดสินใจในการขยายกิจการ เป็นต้น

กระบวนการตัดสินใจ (Process of decision making) 
      หมายถึง การกำหนดขั้นตอนของการตัดสินใจ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกไป จนถึง ขั้นตอนสุดท้าย การตัดสินใจโดยมีลำดับขั้นของกระบวนการ ดังกล่าว เป็นการตัดสินใจโดยใช้หลักเหตุผลและมีกฎเกณฑ์ ซึ่งเป็นการตัดสินใจ โดยใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือช่วยในการหาข้อสรุปเพื่อการตัดสินใจ ขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจมีอยู่หลายรูปแบบ แล้วแต่ความคิดเห็นของนักวิชาการ พลันเกต และแอ็ตเนอร์ (Plunkett and Attner, 1994:162) ได้เสนอลำดับขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจเป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้ อ้างจาก กุลชลี ไชยนันตา (2539:135-139)
      1. การระบุปัญหา (Define the problem) เป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะการระบุปัญหาได้ถูกต้องหรือไม่ ย่อมมีผล ต่อการดำเนินการในขั้นต่อ ๆ ไปของกระบวนการตัดสินใจ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการตัดสินใจด้วย ดังนั้น ผู้บริหารจึง ควรระมัดระวังมิให้เกิดความผิดพลาดในการระบุปัญหาขององค์การ ทั้งนี้ ผู้บริหารควรแยกแยะความแตกต่าง ระหว่าง อาการแสดง (symptom) ที่เกิดขึ้นกับตัวปัญหาที่แท้จริงเสียก่อน ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่ยอดขายของบริษัทลดลง ซึ่งมีสาเหตุมาจาก คุณภาพสินค้าต่ำ จะเห็นว่าการที่ยอดขายลดลง เป็นอาการแสดง และปัญหาที่ต้องแก้ไขได้แก่ การที่คุณภาพสินค้าต่ำ ดังนั้นผู้บริหาร ที่ชาญฉลาดต้องคอยสังเกตอาการแสดงต่าง ๆ ทั้งต้องรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต่อการค้นหา สาเหตุของอาการ แสดงเหล่านั้น ซึ่งจะนำไปสู่การระบุปัญหาที่แท้จริงได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
      2. การระบุข้อจำกัดของปัจจัย (Indentify limiting factors) เมื่อสามารถระบุปัญหาได้ถูกต้องแล้ว ผู้บริหารควรพิจารณาถึง ข้อจำกัดต่าง ๆ ขององค์การ โดยพิจารณาจากทรัพยากรซึ่งเป็นองค์ประกอบของกระบวนการผลิต ได้แก่ กำลังคน เงินทุน เครื่องจักร สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ รวมทั้งเวลาซึ่งมักเป็นปัจจัยจำกัดที่พบอยู่เสมอ ๆ การรู้ถึงข้อจำกัดหรือเงื่อนไข ที่ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงได้ จะช่วยให้ผู้บริหารกำหนดขอบเขตในการพัฒนาทางเลือกให้แคบลงได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีเงื่อนไขว่าต้องส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าภายในเวลา 1 เดือน ทางเลือกของการแก้ไขปัญหาการผลิตสินค้าไม่เพียงพอ ที่มีระยะเวลา ดำเนินการมากกว่า 1 เดือน ก็ควรถูกตัดทิ้งไป
      3. การพัฒนาทางเลือก (Develop potential alternatives) ขั้นตอนต่อไป ผู้บริหารควรทำการพัฒนาทางเลือกต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งทางเลือกเหล่านั้นควรเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพและมีความเป็นไปได้ ในการแก้ปัญหาให้น้อยลงหรือให้ประโยชน์สูงสุด ตัวอย่างเช่น กรณีที่องค์การประสบปัญหาเวลาการผลิตไม่เพียงพอ ผู้บริหารอาจพิจารณาทางเลือกดังนี้
1) เพิ่มการทำงานกะพิเศษ 
2) เพิ่มการทำงานล่วงเวลาโดยใช้ตารางปกติ
3) เพิ่มจำนวนพนักงาน 
4) ไม่ทำอะไรเลย ในการพัฒนาทางเลือกผู้บริหาร อาจขอความ คิดเห็น จากนักบริหารอื่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จทั้งภายในและภายนอกขององค์การ ซึ่งอาจใช้วิธีการปรึกษาหารือเป็นรายบุคคล หรือจัดการประชุมกลุ่มย่อยขึ้น ข้อมูลที่ได้รับจากบุคคลเหล่านั้น เมื่อผนวกรวมกับ สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์และประสบการณ์ของตนเอง จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถพัฒนา ทางเลือกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      4. การวิเคราะห์ทางเลือก (Analyze the alternatives) เมื่อผู้บริหารได้ทำการพัฒนาทางเลือกต่าง ๆ โดยจะนำเอาข้อดีและข้อเสีย ของแต่ละทางเลือกมาเปรียบเทียบกันอย่างรอบคอบ และควรวิเคราะห์ทางเลือกในสองแนวทาง คือ 1) ทางเลือกนั้นสามารถ นำมาใช้ จะเกิดผลต่อเนื่องอะไรตามมา ตัวอย่างเช่น ถ้าโควตาปกติในการผลิตมอเตอร์ของแผนกผลิตเท่ากับ 500 เครื่องต่อเดือน แต่แผนกผลิตต้องผลิตมอเตอร์ให้ได้ 1,000 เครื่อง ภายในสิ้นเดือนนี้ โดยมีข้อจำกัดด้านต้นทุนขององค์การว่า จะจ่ายค่าจ้างพนักงาน เพิ่มขึ้น ไม่เกิน 10,000 บาทเท่านั้น ทางเลือกหนึ่งของการแก้ปัญหา อาจทำได้โดยการจ้างพนักงาน ทำงานล่วงเวลา ในวันหยุด และเวลากลางคืน แต่เมื่อ ประเมินได้แล้ว พบว่า วิธีนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นถึง 17,000 บาท ผู้บริหารก็ควรตัดทางเลือกนี้ทิ้งไป เพราะไม่สามารถ นำมาใช้ได้ภายใต้ ข้อจำกัดด้านต้นทุน
      อย่างไรก็ตามทางเลือกบางทางเลือกที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดขององค์การก็อาจทำให้เกิดผลต่อเนื่องที่ไม่พึงประสงค์ตามมา เช่น ทางเลือกหนึ่ง ของการเพิ่มผลผลิต ได้แก่การลงทุนติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะช่วยให้แก้ปัญหาได้ แต่อาจมีปัญหาเกี่ยวกับ การลดลงของขวัญกำลังใจของพนักงานในระยะต่อมา เป็นต้น
      5. การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด (Select the best alternative) เมื่อผู้บริหารได้ทำการ วิเคราะห์และประเมินทางเลือกต่าง ๆ แล้ว ผู้บริหารควรเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือกอีกครั้งหนึ่ง เพื่อพิจารณาทางเลือกที่ดีที่สุดเพียงทางเดียว ทางเลือกที่ดีที่สุด ควรมีผลเสียต่อเนื่องในภายหลังน้อยที่สุด และให้ผลประโยชน์มากที่สุด แต่บางครั้งผู้บริหาร อาจตัดสินใจเลือก ทางเลือกแบบประนีประนอม โดยพิจารณาองค์ประกอบที่ดีที่สุดของแต่ละทางเลือกนำมาผสมผสานกัน
      6. การนำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ (Implement the decision) เมื่อผู้บริหารได้ทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว ก็ควรมีการนำผล การตัดสินใจนั้น ไปปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารควรกำหนดโปรแกรมของการตัดสินใจ โดยระบุถึง ตารางเวลาการดำเนินงาน งบประมาณ และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ ควรมีการมอบหมายอำนาจหน้าที่ที่ชัดเจน และจัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารที่จะช่วยให้การตัดสินใจเป็นที่ยอมรับ นอกจากนี้ผู้บริหารควรกำหนดระเบียบวิธี กฎ และนโยบาย ซึ่งมีส่วนสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
      7. การสร้างระบบควบคุมและประเมินผล (Establish a control and evaluation system) ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการตัดสินใจ ได้แก่ การสร้างระบบการควบคุมและการประเมินผล ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหาร ได้รับข้อมูล ย้อนกลับ เกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ข้อมูลย้อนกลับจะช่วยให้ผู้บริหารแก้ปัญหา หรือทำการตัดสินใจ ใหม่ได้โดยได้ผลลัพธ์ของการปฏิบัติที่ดีที่สุด

รูปแบบของการตัดสินใจ

      การตัดสินใจเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในหน่วยงาน การตัดสินใจอาจกระทำโดยบุคคลเพียงคนเดียว หรือเป็นกลุ่มบุคคลแล้วแต่ความเหมาะสมของกรณี รูปแบบของการตัดสินใจโดยถือเอาจำนวนคนที่ร่วมตัดสินใจ เป็นเกณฑ์สามารถ จำแนกออกได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
      1. การตัดสินใจโดยบุคคลคนเดียว (Individual decision making) ใช้สำหรับการตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ ที่ผู้ทำการตัดสินใจ ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว หรือเรื่องเร่งด่วนฉุกเฉินที่ไม่มีเวลาพอสำหรับการปรึกษาหารือกับบุคคลอื่น
      2. การตัดสินใจโดยกลุ่มบุคคล (Group decision making) เป็นการตัดสินใจโดยให้ผู้ที่มีหน้าที่ที่จะต้อง ปฏิบัติตามผล ของ การตัดสินใจ นั้น ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูล การตัดสินใจโดยกลุ่มบุคคลนี้ เหมาะสำหรับ การตัดสินใจ ในเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน หรือเรื่องที่ผู้บริหารไม่มีข้อมูลข่าวสารเพียงพอหรือยังขาดประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ หรือไม่มีความชำนาญ ทางด้านนั้นอย่างเพียงพอ จึงจำเป็นต้องฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ แล้วประมวลความคิดเห็นเหล่านั้น มาเป็น สิ่งกำหนดการตัดสินใจ กลุ่มบุคคล ดังกล่าว อาจได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร ซึ่งประกอบด้วยหัวหน้าส่วนต่าง ๆ ของหน่วยงาน คณะกรรมการเฉพาะกิจ ซึ่งอาจประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิร่วมกัน วิธีการตัดสินใจโดย กลุ่มอาจทำได้ใน ลักษณะต่างๆ
(1) การตัดสินใจโดยใช้ข้อยุติที่เป็นมติในเสียงข้างมาก อาจใช้ระบบเสียงข้างมากเกินครึ่งหนึ่ง หรือระบบสองในสามของกลุ่ม แล้วแต่ความสำคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ
(2) การตัดสินใจโดยข้อยุติเป็นเอกฉันท์คือการที่สมาชิกทุกคนเห็นพร้องต้องกันโดยไม่มีความขัดแย้ง และ
(3) สมาชิกในที่ประชุมเสนอความคิดเห็น แล้วให้ผู้บริหารนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจเอง

สภาวการณ์หรือสถานการณ์ของการตัดสินใจ
      โดยปกติแล้ว ผู้นำหรือผู้บริหารมักจะต้องทำการตัดสินใจภายใต้สถานการณ์หรือสภาวการณ์ต่างกัน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่อยู่นอกเหนือ การควบคุมของผู้นำ แต่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจอย่างยิ่งจึงต้องนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ สภาวการณ์หรือสถานการณ์ ของ การตัดสินใจสามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ ดังนี้
      1. การตัดสินใจภายใต้ความที่แน่นอน (Decision-making under certainty)
      2. การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง (Decision-making under risk)
      3. การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน (Decision-making under uncertainty)

      1. การตัดสินใจภายใต้ความแน่นอน คือการตัดสินใจที่ทราบผลลัพธ์การตัดสินใจล่วงหน้าอย่างแน่นอนแล้วว่า ถ้าเลือกทางเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร ลักษณะของการตัดสินใจประเภทนี้ คือ
(1) ผู้ตัดสินใจมีข้อมูลอย่างเพียงพอในการตัดสินใจ และทราบถึงผลลัพธ์ของแต่ละทางเลือก
(2) ผลลัพธ์จะเกิดขึ้นแน่นอนคือเกือบไม่มีการเสี่ยงใด ๆ เลย
(3) การตัดสินใจจะเลือกทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด

      2. การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง คือ การตัดสินใจที่ทราบผลลัพธ์ของการตัดสินใจน้อยกว่าการตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ที่แน่นอน แต่พอจะคาดคะเนความน่าจะเป็นหรือโอกาสที่น่าจะเกิดขึ้น (probability)
ลักษณะสำคัญของการตัดสินใจประเภทนี้ได้แก่
(1) ผู้ตัดสินใจมีข้อมูลสำหรับการตัดสินใจไม่เพียงพอ
(2) การตัดสินใจอยู่ภายใต้ความเสี่ยงคือผู้ตัดสินใจจะต้องคาดคะเนถึงโอกาสหรือความน่าจะเกิดขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์ร่วมด้วย
(3) การตัดสินใจจะพิจารณาเลือกทางเลือกที่ผลตอบแทนสูงสุดและโอกาสที่จะเกิดขึ้นของทางเลือกด้วย
      3. การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน คือ การตัดสินใจที่ไม่สามารถคาดการณ์ผลลัพธ์และโอกาส หรือความน่าจะเป็นที่เกิดขึ้นได้เลย การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอนจะมีลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้คือ
(1) ผู้ตัดสินใจไม่ทราบผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของแต่ละทางเลือก เพราะไม่มีข้อมูลที่จะใช้ประกอบในการตัดสินใจ
(2) ผู้ตัดสินใจไม่ทราบถึงโอกาสที่จะเป็นไปได้ และ
(3) มีสภาวะนอกบังคับ (State of Nature) หรือตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้ หรือตัวแปรที่ผู้ตัดสินใจไม่อาจคาดการณ์ได้ แต่มีอิทธิพลต่อ การตัดสินใจเกิดขึ้น
      เช่น ภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรือง หรือซบเซา ภาวะเงินเฟ้อ การเมือง แรงงาน การแข่งขันจากภายนอกประเทศ กฎหมายการค้า วัฒนธรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เป็นต้น การตัดสินใจแบบนี้ ผู้นำต้องอาศัยประสบการณ์ ความเชื่อมั่น และลางสังหรณ์มาคาดการณ์ โอกาสที่จะเป็นไปได้ แล้วจึงทำการตัดสินใจ การตัดสินใจแบบนี้จะเกิดขึ้นได้น้อยมาก ในยุคของการสื่อสาร และระบบข้อมูลสาร สนเทศ เจริญก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่เหมือนในปัจจุบัน ยกเว้นในกรณีที่มีเวลามาเป็นตัวกำหนด ให้ต้องทำการตัดสินใจ เท่านั้น

การตัดสินใจและกระบวนการแก้ปัญหา

ทฤษฎีการตัดสินใจ
1.(Rational Decision-Making Model)
  1. การกำหนดเป้าหมาย
  2. การกำหนดปัญหา
  3. การพิจารณารูปแบบการตัดสินใจ
  4. การกำหนดทางเลือก
  5. การประเมินและการเลือกทางเลือก(ทำการตัดสินใจ)
  6. การปฏิบัติการตามการตัดสินใจ
  7. การควบคุม การประเมินผลลัพธ์และการจัดหาการป้อนกลับ
2. Bounded Rationality
* Herbert Simon : Good Enough
* ผู้ตัดสินใจจะใช้ข้อมูลที่สะดวกและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ไม่จำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่ทำให้มีผลลัพธ์สูงสุด
3. Mix Scanning - Amitai Etzioni
ประเภทของการตัดสินใจ = Programmed / Non-programmed
= Centralization / Decentralization
ขั้นตอนการตัดสินใจ สามารถแบ่งออกได้เป็นดังนี้ คือ
      ขั้นที่ 1 การระบุปัญหา(Define problem)  เป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะจะต้องระบุปัญหาได้ถูกต้อง จึงจะดำเนินการตัดสินใจในขั้นตอนต่อๆ ไปได้
      ขั้นที่ 2 การระบุข้อจำกัดของปัจจัย(Identify limiting factors) เป็นการระบุปัญหาได้ถูกต้องแล้ว นำไปพิจารณาถึงข้อจำกัดต่างๆ ขององค์กร โดยพิจารณาจากทรัพยากรซึ่งเป็นองค์ประกอบของกระบวนการผลิต
      ขั้นที่ 3 การพัฒนาทางเลือก(Development alternative) ขั้นตอนที่ผู้บริหารต้องพัฒนาทางเลือกต่างๆขึ้นมา ซึ่งทางเลือกเหล่านี้ ควรเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพและมีความเป็นไปได้ ในการแก้ปัญหาให้น้อยลงหรืให้ประโยชน์สูงสุด เช่น เพิ่มการทำงานกะพิเศษ เพิ่มการทำงานล่วงเวลาโดยใช้ตารางปกติ เพิ่มจำนวนพนักงาน
      ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ทางเลือก(Analysis the altematives) เมื่อได้ทำการพัฒนาทางเลือกต่างๆ โดยนำเอาข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือกมาเปรียบเทียบกันอย่างรอบคอบ ควรพิจารณาว่าทางเลือกนั้นนำมาใช้ จะเกิดผลต่อเนื่องอะไรตามมา
      ขั้นที่ 5 การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด(Select the best alternative) เมื่อผู้บริหารได้ทำการวิเคราะห์ และประเมินทางเลือกต่างๆ แล้ว ผู้บริหารควรเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือกอีกครั้งหนึ่งเพื่อพิจารณาว่าทางเลือกที่ดีที่สุดเพียงทางเดียว
      ขั้นที่ 6 การนำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ(Implernent the decision) เมื่อผู้บริหารได้หาทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว ก็ควรมีการนำผลการตัดสินใจนั้นไปปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
      ขั้นที่ 7 การสร้างระบบควบคุมและประเมินผล(Establish a control and evaluation system) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของ กระบวนการตัดสินใจ ได้แก่การสร้างระบบการควบคุมและประเมินผล ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารได้รับ ข้อมูลย้อนกลับ ที่เกี่ยวกับผล การปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ข้อมูลย้อนกลับจะช่วยให้ผู้บริหารแก้ปัญหา หรือทำการตัดสินใจใหม่ได้ 

ที่มา
https://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/Decision_Making.htm