วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561

Applications of Social Business



Social Business

          Social Business เป็นธุรกิจที่แสวงหากําไร (for-profits) ถึงแม้ไม่แสวงหากําไรสูงสุด แต่ ต้องมีผลประกอบการที่ได้กําไร และนํากําไรนั้นมาลงทุนกลับให้กับสังคม พร้อมกับการขยายตัวของธุรกิจ มุ่งเน้นสร้างความยั่งยืนทั้งในสถานะการเงินและสถานะทางเศรษฐกิจ ผู้ลงทุนได้ผลตอบแทนเฉพาะเท่าที่ได้ ลงทุนไป และโดยไม่ได้รับเงินปันผล หรือประโยชน์อื่นมากไปกว่าเงินที่ลงทุน ซึ่งการลงทุนอาจลงทุนโดยนัก ลงทุน หรือ คนยากจนหรือผู้ด้อยโอกาสเป็นเจ้าของ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ ประเด็นสําคัญของธุรกิจ ประเภทนี้คือ กําไรทั้งหมดคืนสู่สังคม เพื่อนําไปขยายตัวของธุรกิจ พัฒนาสินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่มี คุณภาพสูงขึ้นเพื่อสร้างประโยชน์ต่อสังคมได้มากขึ้น


Social Network

          โซเชียลเน็ตเวิร์ค หรือ Social Network คือเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือการที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนหนึ่ง เชื่อมโยงกับเพื่อนอีกนับสิบ รวมไปถึงเพื่อนของเพื่อนอีกนับร้อย ผ่านผู้ให้บริการด้านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) บนอินเตอร์เน็ต เช่น Facebook, Blogger, Hi5, Twitter หรือ Tagged เป็นต้น (บางเว็บไซต์ที่กล่าวถึงในตัวอย่าง ปัจจุบันนี้ได้เสื่อมความนิยมแล้ว) การเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้เกิดเครือข่ายขึ้น เช่น เราสามารถรู้จักเพื่อนของเพื่อนเราได้ เป็นทอดๆ ต่อไปเรื่อย ทำให้เกิดสังคมเสมือนจริงขึ้นมา สามารถสร้างคอนเน็คชั่นใหม่ๆ ได้ง่าย และเมื่อเราแชร์ (Share) ข้อความหรืออะไรก็ตามลงไปในเครือข่าย ทุกคนในเครือข่ายก็สามารถรับรู้ได้พร้อมกัน และสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เราแชร์ได้ เช่น แสดงความคิดเห็น (Comment) กดไลค์ (Like) ซึ่งอาจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละผู้ให้บริการ ความโดดเด่นในเรื่องความง่ายของโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ทำให้ธุรกิจ และนักการตลาดสนใจที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการ

CrowdSourcing

          คือการทำงานที่เกิดจากการรวมตัวของคนจำนวนมาก ซึ่งต่างคนก็มีความสามารถดีเด่นคนละด้าน เมื่อมารวมกันก็จะทำให้มีความสมบูรณ์จากหลายๆ ศาสตร์รวมกันในงานชิ้นเดียว นอกจากนี้ไม่จำเป็นต้องมานั่งทำงานด้วยกันเพียงอย่างเดียว เนื่องจากมีระบบออนไลน์ทำให้สามารถทำ CrowdSourcing ได้จากทุกที่ผ่านระบบออนไลน์

CrowdSourcing ถูกนำมาใช้ในด้านไหนบ้าง?

การระดมทุน

          การระดมทุนในรูปแบบนี้เรียกกันว่า “crowdfunding” เกิดจากผู้ที่มีไอเดียอยากทำสินค้าขายหรือทำธุรกิจแต่ขาดเงินทุน จึงต้องมีการระดมทุนผ่านระบบ crowdfunding โดยการนำไอเดียไปขึ้นสู่เว็บไซต์ประเภทนี้เช่น Kickstarter โดยผู้ที่สนใจในไอเดียก็จะบริจาคเงินทุนเพื่อการนำไปพัฒนาต่อยอดจนสามารถขายหรือทำธุรกิจได้จริง

การทำงานในบริษัทห้างร้าน
          เช่นการเสนอไอเดียจากพนักงานหลายๆ คน รวมถึงจากลูกค้า เพื่อนำมาช่วยในการวิเคราะห์และออกแบบสินค้าหรือบริการตัวใหม่ นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่รับทำ CrowdSourcing ช่วยหาคนหรือหน่วยงานมาร่วมการทำงานได้ ตัวอย่างเช่น มีโปรเจคหนึ่งของบริษัท แต่ไม่อยากใช้คนของตัวเองทั้งหมด ก็ไปให้บริษัท CrowdSourcing ช่วยหาคนหรือหน่วยงานจากหลายๆ คน มาช่วยในการทำงานชิ้นนี้ได้ ทำให้มีการต่อยอดและพัฒนาได้ดีกว่าเดิมเพราะมีความหลากหลายทางมุมมองความคิดรวมถึงอาจจะนำมาใช้เพื่อช่วยในการทำตลาดหรือทำ CSR ก็ได้ อย่างเช่น Toyota ที่จัดกิจกรรม ชื่อ Ideas for Good ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนที่สนใจได้ส่งความคิดเข้ามาว่าจะนำเทคโนโลยีของ Toyota มาช่วยให้โลกนี้ดีขึ้นได้อย่างไร เพื่อในมาใช้กับการทำ CSR ของ Toyota โดยอาศัยไอเดียจากคนทั่วไป

การแข่งขันเพื่อหาคำตอบที่ดีที่สุด
          บางการวิจัยก็ได้นำแนวคิดนี้เข้ามาใช้เช่น NASA เปิดโอกาสให้คนทั้งโลกสร้างระบบและหลักการคำนวณ (algorithm) ที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการตรวจหาดาวหางจากภาพถ่ายดวงดาวที่นาซ่าจัดหาไว้ให้ ผ่านทางระบบออนไลน์

ใช้ในการโหวตเลือกสินค้า
          เป็นการรวบรวมความเห็นจากผู้คนจำนวนมากเพื่อในการตัดสินใจผลิตและจำหน่ายสินค้า
ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูล
          การให้คนทุกคนสามารถส่งคำแปลภาษาท้องถิ่นเข้าสู่ระบบแปลภาษาได้


shared workspaces หรือ Co-Working Space

          หัวใจสำคัญของ Co-Working Space เริ่มต้นมาจากการทำงานในรูปแบบที่เรียกว่า Co-Working ซึ่งก็คือการที่กลุ่มคนจากต่างสาขาอาชีพมารวมตัวกันและทำงานในพื้นที่เดียวกัน ส่วนใหญ่แล้วคนที่จะมาทำงานร่วมกันนี้มักเป็นกลุ่มคนทำงานอิสระ ซึ่งแน่นอนว่าการทำงานในลักษณะนี้แตกต่างจากการทำงานในบริษัทหรือองค์กรโดยทั่วไป พูดง่าย ๆ ก็คือ ทุกคนต่างคนต่างทำงานของตัวเอง เพียงแต่แบ่งปันพื้นที่ในการทำงานร่วมกันเท่านั้น สถานที่เปิดให้เช่าพื้นที่ทำงานที่เรียกกันว่า Co-Working Space จึงได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อรองรับรูปแบบการทำงานในลักษณะนี้ ในบางครั้ง คำนิยามของ Co-Working Space นอกจากจะหมายถึงการรวมตัวกันในพื้นที่ทำงานชั่วคราวแล้ว ยังอาจหมายถึงชุมชนย่อม ๆ ที่เป็นสังคมแห่งการแบ่งปันของคนทำงานจากหลายสาขาอาชีพได้อีกด้วย


Co-Working Space เหมาะสำหรับใครบ้าง
          
          ผู้ที่ใช้บริการ Co-Working Space คือ ผู้ที่ต้องการความยืดหยุ่นในการทำงาน โดยส่วนมากจะเป็นกลุ่มคนที่กำลังรวมตัวกันเพื่อประกอบธุรกิจใหม่ (Startup Company) ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ (Freelancer) ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจ ถ้าคุณจะเจอคนจากหลากหลายสาขาอาชีพ เช่น Startup สาย Social Enterprise Developer สาย IT Graphic Designer หรือ คนทำงานสาย Creative ภายใน Co-Working Space แห่งเดียวกัน หรือถ้าหากคุณทำงานประจำ แต่อยากเข้าไปเล่นอินเทอร์เน็ต นั่งทำงานนอกสถานที่เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ ประชุมคุยงานด่วน หรือจะนัดพบกับลูกค้าคนสำคัญก็สามารถทำได้ไม่มีปัญหา


ทำไม Co-Working Space ถึงได้รับความนิยม
          
          คุณสมบัติอย่างแรกของ Co-Working Space ที่ทำให้คนทำงานรุ่นใหม่สนใจคงจะหนีไม่พ้นบรรยากาศการทำงานสบาย ๆ ดูเป็นกันเอง และการออกแบบสถานที่ที่คำนึงถึงประโยชน์ด้านการใช้งานและความสวยงาม ซึ่งนั่นทำให้ Co-Working Space นั้นแตกต่างจากออฟฟิศธรรมดา ๆ โดยสิ้นเชิง ทั้งนี้แม้ Co-Working Space แต่ละที่จะมีดีไซน์การตกแต่ง ประเภทเฟอร์นิเจอร์และสีสันที่ต่างกันออกไปตามความพึงพอใจของผู้ให้บริการ แต่โดยรวมแล้วทุกที่จะมีคุณสมบัติ 3 อย่างที่เหมือนกัน ได้แก่


ราคาประหยัดกว่าการเช่าออฟฟิศรายเดือน
          
          หากมองในมุมของความต้องการของตลาดแล้ว กลุ่มคนที่ต้องการเช่าพื้นที่สำนักงานเพื่อใช้เป็นที่ทำงานชั่วคราวนั้นคือกลุ่มคนเพียงกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งในอดีตก่อนการเกิดขึ้นของ Co-Working Space นั้น สำนักงานที่เปิดให้เช่าทำงานนั้นมักจะเป็นอาคารที่ใหญ่โต มีหลายชั้น และมีพื้นที่มากเกินความต้องการของคนกลุ่มนี้ เวลาทำสัญญาเช่าแต่ละครั้งก็ต้องจ่ายเงินล่วงหน้าเป็นเดือน ๆ หรือเป็นปีเลยด้วยซ้ำ ทำให้ไม่ตอบโจทย์คนทำธุรกิจที่เพิ่งสร้างตัวซึ่งมีกำลังคนน้อยและยังไม่มีเงินทุนมากนัก บางคนจึงเลือกที่จะใช้ร้านกาแฟ ร้านขนมหรือบ้านของตัวเองเป็นที่ทำงานชั่วคราวไปก่อน แต่เมื่อ Co-Working Space เริ่มได้รับความนิยมและเปิดให้เช่าโดยคิดค่าใช้จ่ายเป็นรายชั่วโมงและรายวันในราคาที่ประหยัดกว่า จึงไม่น่าแปลกใจที่สถานที่ทำงานชั่วคราวประเภทนี้จะดึงดูดเหล่าเจ้าของ Startup รุ่นใหม่ และคนทำงานอิสระอีกหลายสาขาอาชีพให้เข้ามาใช้บริการ


เหมาะสมกับการทำงานและไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่
          
          นอกจากเรื่องของความคุ้มค่าในการเช่าพื้นที่ทำงานในราคาประหยัดแล้ว Co-Working Space ยังเป็นมากกว่าพื้นที่รวมตัวของคนทำงาน แต่มันคือขุมกำลังของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการอิสระในชีวิต จะว่าไปแล้ว Co-Working Space แทบจะเรียกได้ว่าเป็นตัวแทนทางจิตวิญญาณของคนรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็น นักธุรกิจรุ่นใหม่ที่อยากจะเป็นเจ้านายตัวเอง ไม่อยากทำงานออฟฟิศ เป็นมนุษย์เงินเดือนแบบคนรุ่นก่อน ๆ หรือแม้แต่ นักเขียน ศิลปิน ไปจนถึงช่างภาพ ที่มักจะรับงาน Freelance เป็นจ็อบ ๆไป นั่นทำให้ Co-Working Space เหมาะกับลักษณะการทำงานและไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ยืดหยุ่น ไม่ยึดติดอยู่กับกรอบเดิม ๆได้อย่างลงตัว


มีทุกสิ่งที่คนทำงานต้องการ
          
          Co-Working Space ส่วนใหญ่มักมีอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการทำงาน ไล่ตั้งแต่เฟอร์นิเจอร์พื้นฐานอย่าง เก้าอี้ เบาะนั่งโซฟา หรือโต๊ะสำหรับวางคอมพิวเตอร์ ตลอดจนเครื่องพิมพ์เอกสาร อินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย รวมไปถึงของใช้ในสำนักงานอื่น ๆ ไม่ต่างจากออฟฟิศทั่วไป แต่สิ่งที่ Co-Working Space สามารถให้ได้มากกว่าออฟฟิศทั่วไปก็คือ ความยืดหยุ่นที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้าแต่ละคน ทั้งเรื่องเวลา (จะมากี่โมงก็ได้) หรือสถานที่ (เลือกนั่งตรงไหนของห้องก็ได้ในกรณีที่เป็นห้องรวม) ไม่ว่าจะมาคนเดียวหรือยกกันมาทั้งก๊วน ทั้งนี้ Co-Working Space บางที่ยังผสมผสานความเป็น Serviced Office หรือ มีการให้เช่าพื้นที่และอุปกรณ์การทำงานแบบครบวงจรเข้าไปด้วย เช่น การมีบริการให้เช่าห้องทำงานเฉพาะบุคคล ถ้าเราต้องการความเป็นส่วนตัวและต้องการสมาธิในการทำงาน ห้องประชุมเพื่อคุยงาน ห้องอบรมสัมมนา หรือพื้นที่พิเศษในการจัดกิจกรรม รวมไปถึงห้องครัวและห้องอาหาร บางแห่งยังมีเครื่องดื่ม หรือขนมขบเคี้ยวให้บริการฟรีอีกด้วย เรียกได้ว่าคนทำงานอยากได้อะไร Co-Working Space จัดให้ได้หมด          
          ด้วยเหตุผลทั้งหมดเหล่านี้ Co-Working Space จึงเปรียบเสมือนโลกใบใหม่ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความอิสระและความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน ที่สำคัญพื้นที่แห่งนี้จะทำให้การทำงานของคุณไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เฉพาะในห้องสี่เหลี่ยมแคบ ๆ แบบเดิมอีกต่อไป คุณจะเข้าไปทำงานในบรรยากาศสบาย ๆ เมื่อไหร่ก็ได้ตามใจ และคุณยังจะได้สังคมใหม่ ได้พบเพื่อนใหม่ ๆ จากสาขาอาชีพอื่น ๆ ในสถานที่แห่งการแบ่งปันแห่งนี้อีกด้วย


Blogs and Wikis

บล็อก

          บล็อก (blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"          บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์


การใช้งานบล็อก

          ผู้ใช้งานบล็อกจะแก้ไขและบริหารบล็อกผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์เหมือนการใช้งานและอ่านเว็บไซต์ทั่วไป โดยจะมีรูปแบบบริหารบล็อกที่แตกต่างกัน เช่นบางระบบที่มีบรรณาธิการของบล็อก ผู้เขียนหลายคนจะส่งเรื่องเข้าทางบล็อก และจะต้องรอให้บรรณาธิการอนุมัติให้บล็อกเผยแพร่ก่อน บล็อกถึงจะแสดงผลในเว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งจะแตกต่างจากบล็อกส่วนตัวที่จะให้แสดงผลได้ทันที

          ผู้เขียนบล็อกในปัจจุบันจะใช้งานบล็อกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งไม่ว่า ติดตั้งซอฟต์แวร์ของตัวเอง หรือใช้งานบล็อกผ่านทางเว็บไซต์ที่ให้บริการบล็อก

          สำหรับผู้อ่านบล็อกจะใช้งานได้ในลักษณะเหมือนอ่านเว็บไซต์ทั่วไป และสามารถแสดงความเห็นได้ในส่วนท้ายของแต่ละบล็อกโดยอาจจะต้องผ่านการลงทะเบียนในบางบล็อก นอกจากนี้ผู้อ่านบล็อกสามารถอ่านบล็อกได้ผ่านระบบฟีด ซึ่งมีให้บริการในบล็อกทั่วไป ทำให้ผู้ใช้สามารถอ่านบล็อกได้โดยตรง ผ่านโปรแกรมตัวอื่นโดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาสู่หน้าบล็อกนั้น


บล็อกซอร์ฟแวร์
          บล็อกซอฟต์แวร์ หรือ บล็อกแวร์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต ในลักษณะของระบบจัดการเนื้อหาเว็บ ที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และผู้เขียนหรือดูแลบล็อกจะแยกจากกันต่างหาก ส่งผลให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ในด้านเอชทีเอ็มแอล หรือการทำเว็บไซต์แต่อย่างใด ทำให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้เวลาส่วนใหญ่ในการ บริหารจัดการ เพิ่มเติม ข้อมูลและสารสนเทศแทนได้ นอกจากนี้บล็อกซอฟต์แวร์จะสนับสนุน ระบบ WYSIWYG ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเขียน และอาจเพิ่มเติมการมีเทมเพลตในหลายแบบให้เลือกใช้

          ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งได้ทันทีโดยผู้ใช้ ซึ่งซอฟต์แวร์บางส่วนเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ซึ่งผู้พัฒนาสามารถนำมาปรับแก้ เป็นของตนเอง ติดตั้งไว้ใช้เป็นบล็อกส่วนตัว หรือเผยแพร่ให้คนอื่นมาใช้งานได้ ส่วนซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์นั้น จะมีทั้งในรูปแบบที่ให้ใช้งานแบบเสียค่าใช้จ่ายหรือให้ใช้งานฟรี

wiki

          วิกิ หรือ วิกี้ (wiki) คือ ลักษณะของเว็บไซต์แบบหนึ่ง ที่อนุญาต ให้ผู้ใช้ เพิ่มและแก้ไขเนื้อหาได้โดยง่าย ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องการลงทะเบียนเพื่อแก้ไข ด้วยความง่ายในการแก้ไขและโต้ตอบ วิกิเว็บไซต์มักจะถูกนำมาใช้ในการร่วมเขียนบทความ คำว่า "วิกิ" นี่ยังรวมหมายถึงวิกิซอฟต์แวร์ซึ่งเป็น ตัวซอฟต์แวร์รองรับการทำงานระบบนี้ หรือยังสามารถหมายถึงตัวเว็บไซต์เองที่นำระบบนี้มาใช้งาน


ประวัติความเป็นมาของ Wiki

          วิกิตัวแรกชื่อว่า WikiWikiWeb สร้างโดย วอร์ด คันนิงแฮม เมื่อพ.ศ. 2537 สำหรับโครงการ Portland Pattern Repository ของเขา โดยได้เขียนโปรแกรมขึ้นด้วยภาษาเพิร์ลและติดตั้งลงที่เว็บ c2.com โดยชื่อของ วิกิ นั้นมาจากชื่อรถประจำทางสาย "วิกิ วิกิ" (Wiki Wiki) ของระบบรถขนส่งแชนซ์ อาร์ที-52 ที่ สนามบินฮอโนลูลูในรัฐฮาวาย คำว่าวิกิในภาษาฮาวายมีความหมายว่าเร็ว ดังนั้นคำว่า "วิกิวิกิ" หมายถึง "เร็วเร็ว" นั่นเอง
ระบบวิกิเริ่มเป็นที่รู้จักภายหลังจากที่สารานุกรมวิกิพีเดียได้นำมาใช้ ซึ่งต่อมาได้มีหน่วยงานหลายส่วนได้นำระบบวิกิมาใช้ไม่ว่าในการจัดการเอกสาร การติดต่อสื่อสาร หรือแม้แต่การร่วมเขียนโปรแกรม

Wiki ทำงานอย่างไร 



          เว็บไซต์ Wiki ใช้ซอฟต์แวร์ MediaWiki ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ไม่ค่าลิขสิทธิ์ทำงาน เป็นประเภท GNU General Public License (GPL). เผยแพร่ภายใต้ข้อกำหนดขอ GNU General ออกแบบติดตั้งที่คอมพิวเตอร์ฝั่ง Server ซอฟต์แวร์ MediaWiki ถูกออกแบบให้ทำงานบน Sever ขนาดใหญ่ มีขีดความสามารถสูง พัฒนาโดยใช้ภาษา PHP ร่วมกับระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล MySQL การสร้างเอกสารเผยแพร่ใช้รูปแบบของ wikitext format โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องมีความรู้ภาษา XHTML หรือ CSS (Cascading Style Sheets) ซึ่งเป็นภาษาหลักในการสร้างและจัดรูปแบบเอกสารที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์


Social Commerce


  • Subset of e-commerce (หน่วยย่อยของ e-commerce)
  • Social interaction + user contribution into online buying and selling (อาศัยความความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเป็นหลัก)
  • Using social networks as a medium (มี social media ต่างๆเป็นสื่อกลาง รวมถึงเป็นร้านค้าออนไลน์ด้วย)
  • The context of e-commerce (โดยรวมแล้วอยู่ในบริบทของคำว่า e-commerce)




Sales Funnel of Social Commerce
  1. ทำการตลาดโดยการเริ่มต้นจากการให้คุณค่าก่อนผ่านคอนเทนต์ ของฟรีเพื่อทดลอง
  2. ให้จนผู้บริโภครู้สึกว่าได้รับจนต้องให้คืนบ้างไม่งั้นจะรู้สึกผิด
  3. ผู้บริโภคมีสิทธิ์ในการผลิตของเทนต์เกี่ยวกับสินค้า และ ให้คะแนนกับห้างร้านต่างๆบนโลกออนไลน์
  4. การขายจะเกิดขึ้น ผ่านเครือข่ายของผู้บริโภคบนโลกออนไลน์
  5. เกิดการซื้อซํ้าเพราะความน่าเชื่อถือบนโลกออนไลน์


ปัจจัย สร้างความสำเร็จให้ Social Commerce

  • คุณค่าที่จะมอบให้ผู้บริโภคก่อนที่จะเป็นลูกค้าผ่านคอนเทนต์ ผ่านของขวัญ ผ่านสื่อต่างๆ
  • การสร้าง mood and tone ให้กับสังคมชุมชนลนโลกออนไลน์
  • มีหลักฐานความสำเร็จ ที่ได้รับจากการรีวิวของลูกค้าเอง
  • ผู้บริโภคมีอำนาจที่จะผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับแบรนด์นั้นๆ



File Sharing 

การใช้งานไฟล์หรือโฟล์เดอร์ร่วมกัน

          การใช้งาน File Sharing หรือที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า File Server (เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้เก็บไฟล์) คือ ที่เก็บไฟล์ส่วนกลางของบริษัท โดยทาง Factory Manager ได้กำหนดนโยบายว่าทุกแผนกต้องเก็บไฟล์ไว้ที่ส่วนกลางเท่านั้น ไม่ให้เก็บไว้ที่เครื่องตัวเอง
          ข้อดีของการจัดเก็บไฟล์งานไว้ที่ File Server คือ สามารถบริหารจัดการสิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์หรือโฟล์เดอร์ต่างๆได้, สามารถบริหารจัดการไฟล์หรือข้อมูลได้สะดวกและมีประสิทธิภาพ เช่น มีการสำรองข้อมูลทุกวัน หรือในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ไม่กระทบกับไฟล์ข้อมูล เป็นต้น


Social Maketing


          นับตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช 1990 ได้เกิดคิดแนวใหม่ซึ่งเกิดการขั้นแย้งจากนักธุรกิจหลายท่านในยุค ที่ ก่อนหน้านั้นเป็นเพียงการเน้นแสวงหาผลประกอบการและการลดต้นทุน และแนวคิดที่ว่านั้นอาจจะไม่ เกี่ยวข้องกับธุรกิจโดยตรง และนั้นคือการตลาดเชิงสังคม (Social Marketing) หรือการสร้างภาพลักษณ์ อันดีของธุรกิจขององค์กรต่อสังคมเมื่อแนวคิดนี้ได้ถูกนํามาใช้ขับเคลื่อนการตลาด หลายองค์กรถือว่า ประสบความสําเร็จเป็นอย่างมาก ซึ่งสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างง่ายดาย          
          
          “Social Marketing” หรือในที่เข้าใจกับในรูปแบบของ “Customer Social Relationship : CSR” และแก่น ความหมายที่จริงของการตลาดในรูปแบบนี้ก็คือการสร้างสรรค์สังคม หรือการแบ่งส่วนของผลประกอบ การกลับเข้าเพื่อเข้าสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ทั้งในถิ่นที่ตั้งอยู่หรือแม้กระทั่งสังคมโลกก็ตาม โดยเป้าหมายของการทําเพื่อสังคมนั้นนอกจากสร้างความเป็นอยู่ที่ดีต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง แล้วนั้น การสร้าง Branding และภาพลักษณ์อันดีเพื่อให้สังคมและกลุ่มผู้บริโภคจดจําได้หรือเรียกได้ ว่าเป็นการสร้างการตลาดแบบยั่งยืนทั้งต่อผู้ประกอบการและต่อชุมชนเอง         
         
           “การทํากิจกรรมเพื่อสังคม” ตามเป้าหมายของ Social Marketing นั้นทุกองค์กร ทุกแวดวงสามารถ ทําได้ไม่ว่าจะเป็นองค์กรแสวงหากําไรทั่วไป หรือแม้จะเป็นธุรกิจต้องห้ามของสังคมหรือธุรกิจอย่าง เหล้า เบียร์ บุหรี หรือแม้กระทั้งผับบาร์ต่างๆ โดยเป้าหมายของธุรกิจแต่ละแวดวงนั้นเป้าหมายก็ใกล้ เคียงกันนั่นก็คือการคืนกําไรสู่สังคมและสิ่งแวดล้อม หากจะหยิบยกตัวอย่างขึ้นมาสักหนึ่งตัวอย่างนั้น สิ่งที่ชัดเจนที่สุดก็คืออย่างเช่น การสร้างโฆษณาที่เชิญชวนให้รักเมืองรักบ้านเกิดรักทรัพยากรของ ประเทศ ผ่านโฆษณาทีวีโทรทัศน์และจากตัวอย่างที่หยิบยกมานั้นจะเห็นได้ว่า กิจกรรมที่เหล่าแบรนด์ น้ําเมาแต่ละเจ้านั้นส่งคืนสู่สังคมถึงแม้ว่าอาจจะได้เกี่ยวข้องกับแบรนด์และสินค้าโดยตรง แต่นั้นก็เป็น เหมือนการลบล้างภาพลักษณ์ที่ดูแย่ต่อสังคมให้กลายเป็นภาพหลักที่ดีขึ้นนั้นเอง          
         
          อีกหนึ่งตัวอย่างกิจกรรม CSR ที่สร้างขึ้นมาเพื่อพัฒนาแหล่งทํากินของตนและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ แก่องค์กรด้วยอย่างเช่น “การดําน้ําเก็บขยะได้ทะเลของเหล่าบรรดาผู้ประกอบกิจการนําเที่ยว”          
          จากตัวอย่างทั้งหมดทั้งมวลที่ได้หยิบยกขึ้นมานั้นจะเห็นได้ว่าในบางครั้งเป้าหมายจริงๆของ “Social Marketing” คือการสร้างความยั่งยืนแก่สังคมและสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจุบันได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปจาก ความยั่งยืนให้กลายเป็นความฉาบฉวย หรือการแย่งชิงโอกาสเพียงเท่านั้น ความร้อนแรงในการแข่งขัน ในตลาด CSR นั้นก็มีมากขึ้นพอสมควรในการแย่งชิงหน้าตา และการแย่งชิงภาพลักษณ์เพื่อความโดด เด่นในสังคม แต่สิ่งที่ได้รับอาจจะไม่ความยั่งยืนตามที่วางไว้แต่อาจจะเป็นเพียงผลกําไรที่ฉาบฉวย เท่านั้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น