Information Technology Infrastructure
โครงสร้างลำดับชั้นข้อมูล
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล (Database system concept)
ลำดับชั้นของการจัดเก็บข้อมูล
• บิต (bit) ย่อมาจาก Binary
Digit ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ 1
บิต จะแสดงได้ 2
สถานะ คือ 0หรือ1
• ไบต์ (byte) คือ นำ บิต หลายๆ บิต มาเรียงต่อกันจำนวน 8 บิต มาเรียงเป็น 1 ชุด เรียกว่า 1 ไบต์
10100001 หมายถึง ก
10100010 หมายถึง ข
• เขตข้อมูล (Field) คือ การนำ ไบต์ (byte) หลายๆ ไบต์ มาเรียงต่อกัน
เช่น เขตข้อมูล Name ใช้เก็บชื่อ
เช่น เขตข้อมูล Last Name ใช้เก็บนามสกุล เป็นต้น
• ระเบียน (Record) คือ การนำเขตข้อมูล หลายๆ เขตข้อมูล มาเรียงต่อกัน เรียกว่า ระเบียน
เช่น ระเบียน ที่ 1 เก็บ ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด ของ นักเรียนคนที่ 1 เป็นต้น
• แฟ้มข้อมูล (File) / ตารางข้อมูล (Table) คือ การเก็บระเบียนหลายๆระเบียน รวมกัน
เช่น แฟ้มข้อมูลนักเรียน จะเก็บ ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด ของนักเรียน จำนวน 500 คน เป็นต้น
• ฐานข้อมูล (Database) คือ การจัดเก็บแฟ้มข้อมูล หลายๆ แฟ้มข้อมูล ไว้ภายใต้ระบบเดียวกันเช่น ฐานข้อมูลหนึ่ง เก็บแฟ้มข้อมูลนักเรียน แฟ้มข้อมูลอาจารย์ และแฟ้มข้อมูลวิชาที่เปิดสอน เป็นต้น
ระบบประมวลผลแฟ้มข้อมูลแบบเดิม (Traditional File Processing System)
เป็นระบบแฟ้มข้อมูล (File-based system) คือ
ชุดของโปรแกรมประยุกต์ที่ให้ผู้ใช้ใช้เพื่อประมวลผลงานที่ต้องการ
โดยแต่ละโปรแกรมก็จะกำหนดและจัดการแฟ้มข้อมูลของตนเอง แฟ้มข้อมูลที่ใช้ในระบบไฟล์จะแยกจากกันเป็นเอกเทศ
และอาจไม่มีความสัมพันธ์กัน โดยส่วนใหญ่ข้อมูลและโปรแกรมมักรวมอยู่ด้วยกันเป็นแฟ้มข้อมูล
ข้อจำกัดของการประมวลผลแบบแฟ้มข้อมูลแบบเดิม
1. ข้อผิดพลาดจากการเพิ่มข้อมูล การเพิ่มข้อมูลในไฟล์หนึ่ง
แต่ไม่เพิ่มข้อมูลในอีกไฟล์หนึ่งซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน
2. ข้อผิดพลาดจากการลบข้อมูล การลบข้อมูลในไฟล์หนึ่ง
แต่ไม่ลบข้อมูลในอีกไฟล์หนึ่งซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน
3. ข้อผิดพลาดจากการปรับปรุงข้อมูล การเปลี่ยนแปลงข้อมูลในไฟล์หนึ่ง
แต่ไม่เปลี่ยนแปลงข้อมูลในอีกไฟล์หนึ่งซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน
ความหมายของฐานข้อมูล
ฐานข้อมูล (Database)
หมายถึง โครงสร้างของการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาประมวลเพื่อช่วยในการตัดสินใจ และสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ในการจัดการข้อมูลในฐานข้อมูลจะใช้ซอฟต์แวร์ประเภท ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database
Management System : DBMS)
ฐานข้อมูล (Database)
ฐานข้อมูล จะมีส่วนที่ทำหน้าที่ในการอธิบายความหมายของรายการข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูลด้วย เรียกส่วนนี้ว่า พจนานุกรมของข้อมูล (Data
Dictionary) หรือ เมตาดาต้า(Meta - data)
โครงสร้างของข้อมูลจะถูกแยกออกจากโปรแกรมประยุกต์และเก็บเอาไว้ในส่วนที่เรียกว่า “ฐานข้อมูล”
ถ้ามีการเพิ่มหรือปรับปรุงโครงสร้างของข้อมูลก็จะไม่มีผลกระทบกับโปรแกรมประยุกต์
ระบบจัดการฐานข้อมูล
(Database
Management System : DBMS)
หมายถึง
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการข้อมูลในฐานข้อมูล DBMS จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฐานข้อมูลกับโปรแกรมที่มาใช้งานฐานข้อมูลและผู้ใช้งานฐานข้อมูล ที่ติดต่อไปยังฐานข้อมูลเพื่อทำงานที่ผู้ใช้ต้องการให้สำเร็จ
เช่น การจัดเก็บข้อมูลลงในฐานข้อมูล ,
การค้นหาข้อมูลที่ต้องการออกมาแสดง หรือ
การลบข้อมูล เป็นต้น
ส่วนประกอบของ DBMS
• SQL (Structure
Query Language)
• โปรแกรมอำนวยความสะดวก (General
Utilities)
• โปรแกรมช่วยสร้างโปรแกรมประยุกต์และรายงาน (Applicaton and Report Generators)
• พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)
แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
- - ลักษณะการออกแบบ
โดยจัดข้อมูลให้อยู่ในรูปของตารางที่มีระบบคล้ายแฟ้ม
- - ข้อมูลแต่ละแถวของตารางจะแทน เรคอร์ด
- - ข้อมูลแนวดิ่งจะแทน คอลัมน์
ซึ่งเป็นขอบเขตของข้อมูล
- - ตารางแต่ละตารางที่สร้างขึ้นจะเป็นอิสระจากกัน
- - ผู้ออกแบบฐานข้อมูลจะต้องมีการวางแผนถึงตารางข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้
เช่น ระบบฐานข้อมูลบริษัทแห่งหนึ่ง
ประกอบด้วย ตารางประวัติพนักงาน ตารางแผนกและตารางข้อมูลโครงการ
แสดงประวัติพนักงาน ตารางแผนก และตารางข้อมูลโครงการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น